เจษฎาภรณ์ หารพรมวัลลภ ใจดีจินตนา ยูนิพันธุ์อรุณรักษ์ คูเปอร์ มีใยChessadaporn HarnpromWanlop JaideeJintana YunibhandAronrag Cooper Meeyaiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยา2021-09-252021-09-252564-09-252562วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 49, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 95-1072697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63670การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการขยายภาพคำเตือนสุขภาพร้อยละ 85 กับปริมาณโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ โดยใช้การวิเคราะห์ Interrupted Time Series ทำาการวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่รายสัปดาห์ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2557 หลังจากปรับแนวโน้มฤดูกาล (Seasonal Trend) และตัวแปรกวน (ได้แก่ ปริมาณข่าวเกี่ยวกับบุหรี่ ราคาบุหรี่ ความชุกการสูบบุหรี่) พบว่า ปริมาณโทรเข้า สายด่วนเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้นในช่วงประกาศขยายภาพ คำเตือนสุขภาพร้อยละ 85 มีสายโทรเข้า (Incoming Calls) จำนวน 759,318 ครั้ง เป็นผู้โทรเข้าขอคำปรึกษา เลิกบุหรี่ จำนวน 122,217 ราย เมื่อวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณโทรเข้าก่อนและหลังประกาศขยายภาพคำเตือน สุขภาพร้อยละ 85 พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p = 0.880) ทั้งนี้ ปริมาณข่าวเกี่ยวกับบุหรี่และข่าวเกี่ยวกับขยาย ภาพคำเตือนในหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์กับปริมาณ โทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่เป็น 4 เท่า (p = 0.006) และ 14 เท่า (p <0.001) ตามลำดับ โดยสรุป การเพิ่มขึ้นของปริมาณโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการประกาศขยายภาพคำเตือนสุขภาพ ร้อยละ 85 แต่ข่าวเกี่ยวกับบุหรี่ในหนังสือพิมพ์สามารถ เพิ่มการใช้บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ ดังนั้น การรณรงค์ เลิกบุหรี่ทางหนังสือพิมพ์จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ในการเพิ่มการใช้บริการสายด่วนเลิกบุหรี่This study aimed to investigate the relationship between the pictorial health warnings increased to 85% and the number of calls to Quitline. We used the Interrupted Time Series to analyze the weekly data from January 1, 2011 to December 31, 2014 to check the number of calls made to Quitline weekly after changing seasonal trends and confounder variables (volume of news, cost of cigarettes, smoking prevalence). We found that calls made to Quitline increased when advertising pictorial health warnings increased to 85%. Of the total 759,318 incoming calls, 122,217 were for consultations concerning smoking cessation. We found that the number of the incoming calls before and after advertising the increased pictorial health warnings to 85% were not signifi cant (p = 0.880). The correlations between the volume of news about cigarettes and the increased pictorial health warnings to 85% on newspaper with the number of calls to Quitline totaled 4 times (p = 0.006) and 14 times (p <0.001), respectively. In conclusion, the increased number of incoming calls to Quitline was not associated with the increased advertising of the pictorial health warnings to 85%. However, the impact of the news about tobacco could increase the use of Quitline. Therefore, the smoking cessation campaign using the newspaper medium remains one option to increase the number of people using Quitline.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาพคำเตือนสุขภาพร้อยละ 85สายด่วนเลิกบุหรี่อารีมาโมเดลข่าวหนังสือพิมพ์pictorial health warnings 85 percent,Quitlinearima modelnewsprintความสัมพันธ์ระหว่างภาพคำเตือนสุขภาพร้อยละ 85 กับการโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ของประเทศไทยAssociation between Pictorial Health Warnings Increased to Eighty-Five Percent and Quitline Calls in ThailandOriginal Articleภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล