วันเพ็ญ แก้วปานอาภาพร เผ่าวัฒนาดารามาส มะเริงสิทธิ์2024-01-132024-01-13255725672557วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92650การพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)การสร้างเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องเป็นกลวิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดโรคในระดับปฐมภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์โปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะการป้องกันมะเร็งทวารหนักในกลุ่มชายรักชาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายรัก ชายจำนวน 66 คนซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็ นกลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน กลุ่มทดลอง 33 คน โปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสารผ่านการบรรยายและระดมสมอง การสร้างแรงจูงใจผ่านการอภิปรายกลุ่ม ระดม สมองและใช้ตัวแบบภายในกลุ่ม การพัฒนาทักษะผ่านการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้งรวม 3 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล หลังการทดลอง 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย paired t - test และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล ชายรักชายกลุ่มทดลองมีคะแนน เฉลี่ยความรู้เรื่องมะเร็งทวารหนัก การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันมะเร็งทวารหนัก และ พฤติกรรมในการป้องกันมะเร็งทวารหนักดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ p <0.001 ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้ องกันที่เหมาะสมโดย การ สร้างแรงจูงใจผ่านการอภิปรายกลุ่ม การระดมสมองและการใช้ตัวแบบภายในกลุ่ม รวมทั้งการพัฒนาทักษะโดย การฝึกปฏิบัติให้เกิดความมั่นใจและมีพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งทวารหนักในชายรักชายได้แต่ควรเพิ่มการ กระตุ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของพฤติกรรมการป้ องกันในระยะยาวPromoting correct behavior is an appropriate strategy for disease prevention. This research was quasi-experimental research that aimed to study the effects of the application of the Information Motivation and Behavioral Skills program to prevent anal cancer. The sample consisted of 66 MSM(Men Who Have Sex With Men). Multistage sampling was employed to select the samples. One was the control group,where as the other was the experimental group, with each group consisting of 33 people. Information through lectures and brainstorming ,motivation through group discussions,brainstorming and lived models within the group and behavioral skills through demonstration and a return demonstration for one day per week were used for 3 weeks, with a follow-up after the program finished and one month later. The data collection was obtained by using questionnaires and analyzed using descriptive statistics, the compared mean within the group was analyzed by using a paired t-test and between groups by independent t-test. The results showed that after the experiment,and follow-up, the experimental group had an average score of knowledge,self-efficacy and behaviors that was better than before the experiment and the comparison group with a statistical significance of p < 0.001. Results of this research indicate that motivation through group discussions, brainstorming and using the models within the group,including practices to ensure behavioral change to prevent anal cancer in MSM, is necessary to improve confidence to change behaviors. Monitoring should be done to sustain the behavior.ก-ฌ, 147 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเกย์ทวารหนัก -- มะเร็งสุขวิทยาทางเพศผลของการให้ข้อมูลข่าวสารการสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะการป้องกันมะเร็งทวารหนักในกลุ่มชายรักชายEffects of information motivation and behavioral skills model to prevent annal cancer in men who have sex with menMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล