ปิยธิดา ตรีเดชวงเดือน ปั้นดีสุคนธา ศิริประภาพร จงใจภักดี2024-01-172024-01-17255425672554วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93008บริหารสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) เพื่อวัดระดับความพึงพอใจในงานของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 229 คน ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 100 เครื่องมือที่ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน ถึง 19 ธันวาคม 2555 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าไคสแคว์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 57.60) มี สถานภาพสมรสโสด (ร้อยละ 79.00) ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ < 41 ชั่วโมง (ร้อยละ 39.30) ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระหว่าง 1-5 ปี (ร้อยละ 41.90) ตำแหน่งเป็นพยาบาลประจำการ (ร้อยละ 93.00) รายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001-30,000 บาท (ร้อยละ 44.50) ภายใน 1 ปี ได้รับการฝึกอบรมหรือประชุมวิชาการทางการพยาบาลในรพ. จำนวน 3-5 ครั้ง (ร้อยละ 44.60) ได้รับการฝึกอบรมนอก รพ. < 3 ครั้ง (ร้อยละ 91.60) ได้รับการฝึกอบรมทั้งในและนอก รพ. > 3 ครั้ง (ร้อยละ 89.48) ทำงาน แผนกศัลยศาสตร์และออโธปิดิกส์ (ร้อยละ31.90) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดีมีความพึงพอใจในงานโดยรวมอยู่ ในระดับสูง ( Χ = 3.74, SD = 0.38)โดยมีความพึงพอใจในงานด้านลักษณะงานมากที่สุด และด้านรายได้สวัสดิการมีความ พึงพอใจต่ำสุด บรรยากาศองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยบรรยากาศองค์การด้านแบบของความเป็นผู้นำมีค่าเฉลี่ย สูงสุด และด้านความไม่ซ้ำซ้อนของระบบงานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดย การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานด้านการได้รับการสนับสนุนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการได้รับทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความพึง พอใจในงาน พบว่าลักษณะส่วนบุคคลเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานและการได้รับการฝึกอบรมใน รพ. มีความสัมพันธ์ระดับ ค่อนข้างต่ำกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001, r = - 0.211, 0.229) ส่วนอายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่ง รายได้ การฝึกอบรมนอก รพ. และแผนกที่ ปฏิบัติงาน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี บรรยากาศองค์การ และการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001, r = 0.738, 0.711)ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือควรมีการเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น โดยผู้บริหารควรจัดหา สวัสดิการเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มจำนวนหอพัก การบริการรถรับส่งสำหรับผู้ที่พักหอนอก รพ. การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการ เป็นต้น การจัดการเรื่องการฝึกอบรมใน รพ. ให้ได้รับปีละหลาย ๆ ครั้ง ส่งเสริมเรื่องการออกแบบงานให้ง่าย และ สนับสนุนเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และมีการรณรงค์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุดก-ฌ, 113 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความพอใจในการทำงานพยาบาลวิชาชีพ -- ความพอใจในการทำงานความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรามาธิบดีJob satisfaction of professtional nurse in Ramathibodi HospitalMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล