Natthapong ChanyooSongsri SoranastapornSunaisah Doloh2024-07-082024-07-08202020202024Thesis (M.A. (Applied Linguistics))--Mahidol University, 2020https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99418Applied Linguistics (Mahidol University 2020)This study aimed: 1) to investigate levels of intelligibility of Thai undergraduate students at Homeland University, 2) to examine the relationship between intelligibility and learners' variables: accent familiarity, language proficiency, attitude, overseas experience, and length of time learning English, 3) to examine the relationship between intelligibility and comprehensibility scores of Thai undergraduate students at Homeland University, and 4) to examine the relationship between self-report of comprehensibility and standardized comprehensibility test of Thai undergraduate students at Homeland University. The participants in the study were 75 English major students at Homeland University. A stratified sampling technique was used for selecting the participants. The research instruments consisted of a questionnaire, intelligibility test, accent familiarity judgment, comprehensibility test, self-report of comprehensibility, attitudinal test, and speech samples. The quantitative data were analyzed employing standard deviation, and the Pearson correlation coefficient. The results showed that Thai EFL learners received high scores on intelligibility test on every speaker, and Thai was the most intelligible speaker while American was the least intelligible speaker. The study also found the correlation between intelligibility with only three learners' factors: accent familiarity, language proficiency, and attitude while overseas experience and length of time learning English were found no correlation. In addition, there was a significant correlation between intelligibility scores and comprehensibility scores. Standardized comprehensibility scores were significantly correlated with a comprehensibility rating scale for three speakers: British speaker, Chinese speaker, and Thai speaker while no correlation was found in American speakerการวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจภาษาของผู้เรียนชาวไทยระดับปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยโฮมแลนด์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจภาษาและตัวแปรของผู้เรียน ได้แก่ ความคุ้นเคยต่อสำเนียง ความสามารถทางภาษา เจตคติ ประสบการณ์ในต่างประเทศ และระยะเวลาการเรียนภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเข้าใจภาษาและคะแนนความเข้าใจสารของผู้เรียนชาวไทยระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยโฮมแลนด์และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของแบบประเมินตนเองความเข้าใจสารและคะแนนจากแบบทดสอบมาตรฐานความเข้าใจสาร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยโฮมแลนด์ จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบ่งระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนออกเป็นสามกลุ่ม คือ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูงโดยใช้คะแนนจากการทำแบบทดสอบจัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบทดสอบความเข้าใจภาษา แบบสอบถามระดับความคุ้นเคยต่อสำเนียงแบบทดสอบความเข้าใจสาร แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับความเข้าใจสารและแบบสอบถามเจตคติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเข้าใจภาษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษต่อผู้พูดทั้งสี่สำเนียงอยู่ในระดับสูง โดยผู้พูดสำเนียงภาษาอังกฤษแบบไทยได้คะแนนความเข้าใจภาษามากที่สุด ในขณะที่ผู้พูดสำเนียงภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้คะแนนความเข้าใจภาษาน้อยที่สุด 2) คะแนนความเข้าใจภาษาและตัวแปรของผู้เรียน ได้แก่ ความคุ้นเคยต่อสำเนียง ความสามารถทางภาษา และเจตคติ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ ประสบการณ์ในต่างประเทศ และ ระยะเวลาการเรียนภาษาอังกฤษ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันกับคะแนนความเข้าใจภาษา 3) คะแนนความเข้าใจภาษาและ คะแนนความเข้าใจสาร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) คะแนนของแบบประเมินตนเองความเข้าใจสารและคะแนนจากแบบทดสอบมาตรฐานความเข้าใจสาร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อผู้พูดสำเนียงภาษาอังกฤษแบบบริติช จีน และไทย ยกเว้นสำเนียงภาษาอังกฤษแบบอเมริกันxi, 132 leaves: ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าEnglish language -- Study and teachingEnglish language -- Variation -- Foreign countriesRelationships of learner's factors and intelligibility and comprehensibility levels of Thai EFL students towards varieties of Englishความสัมพันธ์ของปัจจัยของผู้เรียนกับระดับความเข้าใจภาษาและระดับความเข้าใจสารของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศต่อรูปแบบย่อยของภาษาอังกฤษMaster ThesisMahidol University