นฤมล นำภาพรทิพย์ มาลาธรรมนุชนาฏ สุทธิทวีวัฒน์ อัศวโภคีNarumon NumphaPornthip MalathumNuchanad SuttiTaweevat Assavapokeeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์2022-10-202022-10-202565-10-202565รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 183-1982672-9784 (Online)0858-9739 (Print)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79927การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนและปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการจัดการของผู้ดูแล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะใดก็ได้จำนวน 88 ราย และผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 88 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการนอนหลับ และเครื่องติดตามการนอนหลับแบบสายรัดข้อมือ รวมถึงแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผดูู้แลและการจัดการปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุเก็บข้อมูลระหว่างเเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลมูลด้วยสถิติบรรยาย และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดมีรูปแบบการนอนหลับแบบโพลีเฟสิก (นอนหลับหลายครั้งต่อวัน) มีส่วนน้อยที่เป็นแบบไบเฟสิก (นอนหลับ 2 ครั้งต่อวัน) และแบบโมโนเฟสิก (การนอนหลับ 1 ครั้งต่อวัน) ส่วนปัญหาการนอนที่พบ คือ การหายใจผิดปกติขณะหลับ (นอนกรน) ละเมอพูด การนอนหลับมากผิดปกติและตื่นกลางดึกตามลำดับ ผู้ดูแลส่วนใหญ่จัดการการนอนหลับของผู้สูงอายุแบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การใช้เทคนิคผ่อนคลาย การใช้แสง การสร้างสุขนิสัยการนอนหลับที่ดี การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและประมาณ 1 ใน 4 มีการจัดการแบบใช้ยาตามแพทย์สั่ง ผลจากการศึกษาครั้งนี้ จะช่วยให้บุคลากรทีมสุขภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดการและส่งเสริมการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเพื่อลดการนอนหลับแบบโพลีเฟสิก ลดการนอนหลับมากในช่วงกลางวัน รวมถึงพัฒนา โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้อย่างเหมาะสมThis descriptive study aimed to describe sleep patterns and sleep problems among older persons with dementia and management by their caregivers. Purposive sampling was used to recruit 88 community-dwelling older persons with any stage of dementia and 88 caregivers. The research instruments for older participants included the Demographic Questionnaire, sleep diaries, and wrist sleep trackers; those for caregivers included the Demographic Questionnaire, and the Caregivers’ Management of Sleep Problems in Older Persons with Dementia. The data were collected from June to August 2019 and then analyzed using descriptive statistics and chi-square. Almost all of the sleep data showed the polyphasic (sleeping many times per day) sleep pattern, while a few had biphasic (sleeping twice per day) and monophasic (sleeping once per day) sleep patterns. Sleep problems in the older sample included sleep-related breathing disorder (snoring), sleep talking,hyper-somnolence, and wake after sleep onset, respectively. Mainly, non-pharmacological interventions were used for sleep problems of older persons with dementia by caregivers,including promotion of relaxation, light exposure, sleep hygiene, and physical activities.However, one quarter used medications prescribed by doctors. Healthcare providers could use the results from this study to plan interventions for reducing the polyphasic sleep pattern,decreasing hypersomnia and excessive daytime sleepiness, and developing the educational program for caregivers about the management of sleep problems in older persons with dementia appropriately.thaมหาวิทยาลัยมหิดลแบบแผนการนอนหลับปัญหาการนอนหลับการจัดการการนอนหลับผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมSleep patternsSleep problemsSleep problem managementOlder personsDementiaแบบแผนและปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม และการจัดการของผู้ดูแลSleep Patterns and Sleep Problems in Older Persons with Dementia and Management by CaregiversResearch Articleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล