วราพร ศรีสุพรรณประกายรัตน์ สุขุมาลชาติจำลอง บุญเรืองโรจน์ประคอง บัวปรอทอนันต์ กัลปะมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์2019-06-272019-06-272562-06-272558วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 164-1952350-983xhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44187การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนสถานศึกษาในการจัดการการศึกษาเพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่น พื้นที่วิจัยคือ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และอำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) การสื่อสารเพื่อการจัดตั้งเครือข่ายพหุภาคีพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น 2) การพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนสถานศึกษาในการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น (การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นระดับอำเภอ) และ 3) การนำเสนอผลงานและสรุปบทเรียนของพหุภาคีและประเมินการยอมรับการทำงานแบบพหุภาคีของสถานศึกษา ผลการวิจัยคือ 1) การจัดตั้งพหุภาคีในโครงการวิจัยมี 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 เน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง อปท. สถานศึกษา แกนนำภาคประชาชน (ผู้นำองค์กรชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รูปแบบที่ 2 เน้นบทบาทของสถานศึกษาเป็นสำคัญ 2) ผลผลิตที่เกิดจากพหุภาคีได้แก่ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับสิ่งที่เป็นจริงในท้องถิ่น และแผนการสอนตัวอย่างที่ครูได้ออกแบบไว้ซึ่งเกือบทั้งหมด (อำเภอพนมทวน) หรือบางส่วน (อำเภอบางปลาม้า) ได้ผ่านการทดลองสอนแล้ว 3) ข้อเสนอกิจกรรมในการขยายผลการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ได้จากการสรุปบทเรียนของอำเภอบางปลาม้าคือ การปรับปรุงและจัดทำเอกสารสาระการเรียนรู้ “บางปลาม้าศึกษา” ที่เผยแพร่ได้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และวิทยากรท้องถิ่น และการสนับสนุนกิจกรรม “ค่ายบางปลาม้าศึกษา” 4) รูปแบบองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายผลการเรียนรู้ท้องถิ่นจากการประชุมสรุปบทเรียนของอำเภอพนมทวน คือ คณะกรรมการปรับปรุงและจัดทำเอกสารสาระท้องถิ่น และคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเรียนรู้พนมทวนศึกษา ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรปรับปรุง กฎ ระเบียบ และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เพื่อสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถทำหน้าที่ในการจัดตั้งองค์กรพหุภาคีเพื่อการจัดการหลักสูตรท้องถิ่นระดับอำเภอ และสนับสนุนองค์กรนี้ให้สามารถนำส่งหลักสูตรท้องถิ่นอำเภอศึกษาไปสู่สถานศึกษาต่อไปThis action research aims to develop systems and mechanism supporting education for local communities in 2 districts. The study areas were Bangplama district, Suphanburi Province under supervision of Suphanburi Primary Educational Service Area Office 1 and Phanomtuan district, Kanchanaburi Province under supervision of Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. This research study was conducted in three phases; 1) communication for setting up Multi-sector Cooperation group in managing of education for local communities; 2) development of mechanism and support system for school management on education for local communities; and 3) presentation of outcomes, lesson learned and the assessment of the acceptable of school managers on Multi-sector Cooperation group functions. The research results were 1) there were 2 models of Multi-sector Cooperation group. The first model emphasizes on the cooperation of local government administrations, schools, local leaders (community organization leaders and local experts) and Educational Service Area Office. The second model emphasizes the role of schools. 2) The outcomes of Multi-sector Cooperation group were the learning contents which related to local situations and events and the example of learning plans/ learning units which nearly all of them (Phanomtuan district) or some of them (Bangplama district) were tested already. 3) the suggestion to expand research results from the lesson learned meeting in Bangplama district was first by improving and publishing the document of “Bangplama Studies”; second, by developing the learning resources and local teachers; and third by supporting “Bangplama Studies Camp” activities. 4) the organization model setting for expanding research results from the lesson learned meeting in Phanomtuan district were the committee for improving and publishing “Phanomtuan Studies” Document and the committee for setting up “Phanomtuan Studies Learning Center” The research suggested that the Office of Basic Education Commission should revise the rule, regulation and management tradition in order to support the Educational Service Area Office to set up Multi-sector Cooperation group for organizing the district curriculum management, and support them in adopting this curriculum to part of a school curriculum.thaมหาวิทยาลัยมหิดลวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการIntegrated Social Science Journalการจัดการแบบพหุภาคีmulti-sectors cooperation managementการจัดการแบบพหุภาคีในการศึกษาเพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่นMulti-sectors Cooperation Management in Education for Local CommunitiesArticleคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล