Sumalee JindadamrongwechtPunnee ButthepSuporn ChuncharuneeAnchalee Thedsawad2024-02-122024-02-12200820082008Thesis (M.Sc. (Clinical Pathology))--Mahidol University, 2008https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/96359Clinical Pathology (Mahidol University 2008)เบต้าธาลัสซีเมียเป็นกลุ่มของความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีความชุกร้อยละ 3-9% ได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจหามิวเตชั่นที่เป็นสาเหตุของเบต้าธาลัสซีเมียโดย อาศัยปฏิกิริยา polymerase chain reaction ขึ้นหลายวิธี การศึกษาครั้งนี้ได้ออกแบบ primers สำหรับตรวจหามิวเตชั่นที่พบได้ในคนไทยทั้งชนิดที่พบได้บ่อยและพบได้ยากทั้งหมด 19 ชนิด โดยใช้วิธี multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (MARMS-PCR) ซึ่งได้ออกแบบ primers สำหรับตรวจมิวเตชั่น 11 ชนิด ได้แก่ codon 14/15 (+G), codon 15 (-T), codon 19 (A-G), codon 26(G-T), codon 27/28 (+C), codon 35 (C-A), codon 41 (-C), codon 43 (G-T), codon 95 (+A), codon 123-125 (-ACCCCACC), position -86 (C-G) ส่วนมิวเตชั่นอีก 8 ชนิด ใช้ primers ตาม Bhardwaj U และคณะ โดยแบ่ง primers ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามมิวเตชั่นที่พบได้บ่อยไปจนถึงที่พบได้ยาก สำหรับตรวจคนไข้เบต้าธาลัสซีเมีย 250 ราย ซึ่งเป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย 178 ราย โฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย 2 ราย และ เบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี 70 ราย โดยเริ่มหาชนิดของมิวเตชั่นจากมัลติเพล็กมิวเตชั่นกลุ่ม 1, กลุ่ม 2, กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามลำดับ มิวเตชั่นที่เป็นสาเหตุของเบต้าธาลัสซีเมียในการศึกษาครั้งนี้พบได้ 14 ชนิด ซึ่ง 5 ชนิดแรกที่พบได้บ่อยที่สุด คือ codon 41/42 (-CTTT), codon 17 (A-T), position-28 (C-G), IVSII-654 (C-T) และ IVSI-5 (G-C) คิดเป็น 83.4% ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด การศึกษาลักษณะทางโลหิตวิทยาแสดงถึงมิวเตชั่นที่ position-28 ซึ่งเป็นเบต้าบวกธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรงมีค่า hematological parameters สูงกว่ากลุ่มเบต้าศูนย์ธาลัสซีเมียและเบต้าบวกธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง มิวเตชั่นชนิด codon 19 มีค่า HbA2 ต่ำที่สุดในกลุ่มพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย แต่มีค่า HbF ต่ำที่สุด และมีค่า HbA สูงที่สุดในกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี นอกจากนั้นในคนไข้เบต้าธาลัสซีเมียที่มีแอลฟ่าธาลัสซีเมียร่วมด้วยจะมีค่า Hb สูงขึ้นกว่าในคนไข้ที่เป็นเบต้าธาลัสซีเมียอย่างเดียว ในการศึกษาครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการปรับสัดส่วนต่างๆของการเพิ่มปริมาณ DNA ได้อย่างเหมาะสม สำหรับตรวจมิวเตชั่นของเบต้าโกลบิน 19 ชนิด โดยวิธี MARMS-PCR ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตรวจในงานประจำได้vii, 132 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าbeta-ThalassemiaMultiplex Polymerase Chain ReactionPolymerase chain reactionDetection of β-Thalassemia mutations using a multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR)การตรวจหา β-Thalassemia mutations โดยใช้ multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR)Master ThesisMahidol University