สมชาติ โตรักษานิทัศน์ ศิริโชติรัตน์สาวนาถ เลิศสำราญ2024-01-122024-01-12255925672559วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92543สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)งานบริการทันตกรรม เป็นหนึ่งในงานบริการผู้ป่วยนอก มีความสำคัญในการการวิเคราะห์ ป้องกัน บำบัดรักษาโรคหรือความผิดปกติต่างๆ ในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฟัน การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลังการ ทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ สิ่งที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบงานบริการ ทันตกรรมที่พัฒนาขึ้น โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการทดลองที่ โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 9 มีนาคม 2558 ถึง 26 มิถุนายน 2558 โดยให้โรงพยาบาลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ การดำเนินงานบริการทันตกรรมในแต่ละครั้ง เริ่มต้นตั้งแต่ผู้รับบริการมาถึงหน่วยงานทันตกรรม จนถึงผู้รับบริการออกจากหน่วยงานทันตกรรม ในช่วงก่อนการทดลอง และ หลังการทดลอง ของพื้นที่วิจัยและพื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น 381 ครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 198 คน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อน กับ หลังการทดลองใน 5 ด้าน คือ ด้านปริมาณงาน ด้านคุณภาพงาน ด้านระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และด้านเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที ค่าสถิติแพร์ที ค่าสถิติแมนวิทย์นียู ค่าสถิติไคสแควร์ และค่าสถิติวิลค็อกสันที่ระดับแอลฟ่า 0.05 และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีการนำหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น เป็นรูปแบบที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีผังการไหลเวียนของมาตรฐานการปฏิบัติงานบริการทันตกรรม เป็นลายลักษณ์อักษรที่ง่ายต่อการปฏิบัติ หลังการทดลอง พบว่า ผลการดำเนินงาน ดีกว่ารูปแบบเดิม คือ อัตราความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มปฏิบัติงานประจำวันเพิ่มขึ้น (p = 0.003) อัตราความถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรฐานของการให้บริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น (p < 0.001) ปริมาณงานการให้บริการถอนฟันแท้ 1 ครั้งเพิ่มขึ้น (p = 0.034) ปริมาณงานการให้บริการถอนฟันแท้ 1 ซี่เพิ่มขึ้น (p = 0.017) ระยะเวลาเฉลี่ยในการถอนฟันแท้ 1 ครั้ง ลดลง (p = 0.024) ระยะเวลาเฉลี่ยในการถอนฟันแท้ 1 ซี่ลดลง (p = 0.005) ต้นทุนค่าวัสดุต่อหน่วยในการถอนฟัน 1 ซี่ ลดลง (p < 0.001) ต้นทุนวัสดุและค่าแรงต่อหน่วยในการถอนฟัน 1 ซี่ ลดลง (p = 0.044) เสนอให้ดำเนินการวิจัยต่อไป จนเป็น "ตัวแบบ" ของงานบริการทันตกรรม และขยายผลการพัฒนาไปยังหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาลสังขละบุรี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิด หลักการ และวิธีการ ของการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย และ การจัดการความรู้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายThe dental services are a part of the out-patient service and are necessary to diagnose, prevent, and treatment of disease or abnormalities of the oral cavity; especially teeth. This two-group research and development with pre and post-test aimed to develop a dental service model in a distinct hospital to be more effective by using the existing resources and comparing the outcomes, both before and after using the model. The instrument used was the developed dental service model, which is being continuously improved. The researchers conducted the study in dental department of Sangkhlaburi Hospital in Kanchanaburi province between March 9 and June 26, 2015. The control group was in the dental department of Saiyok Hospital in Kanchanaburi province. The samples are the dental services from the patients walking in to the service until the patients left. The amount of dental service, pre-test implement and the post-test period, in the experimental and control group were 381 sessions. The samples were 198 people who responded to questionnaires. The researchers assessed five domains of outcomes: workloads, quality, time and personnel, satisfaction, and economic results. The model implementation outputs were compared by using descriptive statistics, independent t-test, paired t-test, Mann-Whitney U test, Chi-square test, Wilcoxon Matched- Pairs Signed-Ranks test, at alpha 0.05, and content analysis. The research results revealed that the new developed model developed by applying various related theories, by using existing resources, and by the promotion of stakeholders'™ participation, was better and had a higher efficiency than the old one. It created a documented standard workflow of the dental service that was easy to carry out. After the experiment, the output results were better than with the old model. The accuracy rate of preparation was increased (p = 0.003), the accuracy and completion rate of work according to the standard of dental services was improved (p < 0.001), the workload of extracting tooth per visit was increased (p = 0.034), the workload of extracting per tooth was increased (p = 0.017), the average time consumption of tooth extraction per visit was decreased (p = 0.024), the average time consumption of tooth extraction per tooth was decreased (p = 0.005), the operating unit cost, material cost, of tooth extraction per visit was decreased (p < 0.001), the operating unit cost, material and labor cost, of tooth extraction was decreased (p = 0.044). Continuing this research to be a โ€œrole modelโ€ of dental services and expanding this model development experiences to other departments and organizations both inside and outside Sangkhlaburi Hospital for the greater efficiency using the concepts, principles and methods of Routine to Research (R2R) and knowledge management are recommended; as well as including the policy recommendations.ก-ฎ, 347 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยงานประจำสู่งานวิจัยทันตกรรม, การบริการ -- วิจัยการพัฒนางานบริการทันตกรรม โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีA development of dental services at Sangkhlaburi Hospital in Kanchanaburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล