Chutigai TuntichaivanitSutham NanthamongkolchaiChokchai MunsawaengsubPhitaya Charupoonpholสุธรรม นันทมงคลชัยโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์พิทยา จารุพูนผลMahidol university. Faculty of Public Health. Department of Family Health2015-03-102017-06-302015-03-102017-06-302009Journal of Public Health. Vol.39, No.1 (2009), 34-470125-1678https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2476The objectives of this cross-sectional survey research were to study the life happiness and the factors influencing the life happiness of the elderly in Rayong province. The samples included 400 elderly aged between 60-80 years which were selected by multi-stage random sampling. The data were collected by interview questionnaires from June 1st to July 31st 2008 and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square test, Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis.The results showed that 48.0 percent of the elderly had a moderate level of life happiness, followed by those with a high level (27.8%) and those with a low level (24.2%). The factors which were significantly associated with life happiness of the elderly were gender, education, health condition, personality, self - esteem, family relationships, roles of the elderly in the family, monthly income of the family, social support, participation in social activities and perception of social circumstances (p-value < 0.05). The statistically significant predictor variables were self-esteem, social support, family relationships, participation in social activities and perception of social circumstances. The result of classification was 91.2% correctly classified. The finding suggest that the responsible organizations should establish the reinforcement to promote happiness of the elderly by improving the elderly’s self-esteem. There should also be sufficient social support, family relationship and participation in social activities as well as management of social circumstances in agreement with individual personal need and life style, to maintain the life happiness of the elderly.การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับความสุขในชีวิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถร่วมทำนายความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 – 80 ปี จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.0 มีความสุขในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ระดับสูง ร้อยละ 27.8 และระดับน้อย ร้อยละ 24.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ภาวะสุขภาพ บุคลิกภาพ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว บทบาทของผู้สูงอายุใรครอบครัว รายได้ของครอบครัวต่อเดือน แรงสนับสนุนทางสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการรับรู้สภาวะแวดล้อมทางสังคม (p- value < 0.05) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการรับรู้สภาวะแวดล้อมทางสังคมซึ่งสามารถร่วมทำนายความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง ได้ร้อยละ 91.2 และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถร่วมทำนายได้สูงสุด จากการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรเสริมสร้างความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุโดยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการสนับสนุนทางสังคมอย่างเพียงพอ ส่งสริมสัมพันธภาพในครอบครัวรวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการจัดการสภาวะแวดล้อมทางสังคม ให้สอดคล้องกับความต้องการและวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขengMahidol universityLife HappinessElderlySelf-EsteemSocial Supportความสุขในชีวิตผู้สูงอายุความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองแรงสนับสนุนทางสังคมOpen Access articleวารสารสาธารณสุขศาสตร์Journal of Public HealthLife happiness of the elderly in Rayong Provinceความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยองArticleMahidol university