ธนัชพร กาฝากส้มณิชาภา เดชาปภาพิทักษ์ธนิษฐา สรวงท่าไม้พิณทิพย์ งามจรรยาภรณ์ธเนศ ปิติธรรมภรณ์นพรัตน์ ฤชากรThanuchporn KafaksomNichapha DechapaphapitakThanitta SuangtamaiPintip NgamjanyapornDhanesh PitidhammabhornNopparat Ruchakornมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์2022-07-212022-07-212565-07-212564รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 44, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2564), 41-500125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72214บทนำ: โรคเอสแอลอี (Systemic lupus erythematosus, SLE) เกิดจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการในหลายอวัยวะ อีกทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกันหลายชนิด ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตกับผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ที่เข้ารับบริการทุกราย ในช่วงเวลาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 510 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.7) ค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 40.9 ปี (SD, 13.0) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาของการเป็นโรคเท่ากับ 10.5 ปี (SD, 8.2) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 54.1) สิทธิการรักษาที่ใช้มากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 33.5) โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีข้อจำกัดในการตั้งครรภ์แต่ผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนบุตร 3 คน มากถึงร้อยละ 7.2 และมีภาวะแท้งในขณะตั้งครรภ์ต่ำเพียงร้อยละ 17.0 นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพชีวิตทั่วไป (SF-36) อยู่ในเกณฑ์ดี และคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคเอสแอลอี (SLEQoL) อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมาก และเป็นโรคมานานจะมีคุณภาพชีวิตด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่ายกายและสุขภาพโดยรวมแย่กว่าผู้ที่มีอายุน้อย และผู้ที่มีระยะเวลาของการเป็นโรคเอสแอลอีไม่นาน สรุป: ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีที่มารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี มีคุณภาพชีวิตค่อนข้างดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตคือ อายุและระยะเวลาการเป็นโรคBackground: Systemic Lupus Erythematosus (SLE) is an autoimmune disease. It is a chronic disease and exhibits symptoms in many organs and patients will be offered a variety of immunosuppressants, which may cause many side effects and worsen the quality of life. Objective: To study the quality of life in SLE patients receiving treatment in Ramathibodi Hospital. Methods: A cross-sectional study of all SLE patients were collected during February 2017 to February 2018, by using questionnaires to measure the quality of life. Results: Total of 510 SLE patients, 96.7% were female. The mean (SD) age was 40.9 (13.0) years, and the disease duration was 10.5 (8.2) years. Most of them got a bachelor’s degree or higher (54.1%). Universal coverage scheme was the most treatment welfare of the patients. Despite the disease limitation for pregnancy, 7.2% of the SLE patients had 3 children while only 17.0% had miscarriages while pregnant. The general quality of life (SF-36) was in a good level, and disease-specific quality of life (SLEQoL) was at a moderate level. The older patients and a longer disease duration were inversely related to quality of life including physical health, overall health. Conclusions: SLE patients who received the treatment at Ramathibodi Hospital had a relatively good quality of life. Factors related to quality of life were age and duration of the disease.thaมหาวิทยาลัยมหิดลโรคเอสแอลอีคุณภาพชีวิตปัจจัยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลรามาธิบดีQuality of Life in Patients With Systemic Lupus Erythematosus Ramathibodi HospitalOriginal Articleภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล