ศุภวัลย์ พลายน้อยวาทินี บุญชะลักษีเนาวรัตน์ พลายน้อยประทีป นัยนา2024-01-242024-01-24255325672553วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประชากรศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93901ประชากรศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2553)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนพฤติกรรมการให้ของคน 3 วัย คือ วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคน 3 วัย จำนวน 360 คน ผลการศึกษาพบว่า คน 3 วัยมีพื้นฐานในการให้ที่แตกต่างกันตามช่วงวัยและประสบการณ์ วัยเด็กให้ความหมายของ การให้ที่ใกล้ตัวและประสบการณ์จริง แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์มากขึ้นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หรือวัย สูงอายุ การให้ความหมายการให้จะเน้นที่เป็นนามธรรมมากขึ้น รวมทั้งมีการวางเฉยและให้อภัย ซึ่งเป็นการให้อันสูงส่งเมื่อถูกเบียดเบียนจากคนรอบข้าง แม้ความคิดพื้นฐานของการให้และรูปแบบพฤติกรรมจะแตกต่างกัน แต่คนทั้ง 3 วัย มีแบบแผนในการให้ที่เหมือนกันในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย วาระโอกาสที่ให้ ช่องทางการให้ และ การคาดหวังผลที่ได้รับ แบบแผนพฤติกรรมการให้ของคนทั้ง 3 วัยยังคงยึดมั่นในศาสนาเป็น หลัก และเน้นการบริจาคมากกว่าการเป็นอาสาสมัคร ทำให้เห็นว่าพื้นฐานจิตใจของคนไทยทุก วัยมีการให้และมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวมาช้านาน ในการรณรงค์เรื่องการให้ในสังคม ควรคำนึงถึงความแตกต่างของการให้ ความหมายของการให้ของคน 3 วัย และควรมีการสื่อสารทางสังคมให้ คน 3 วัยได้ดำรง พฤติกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพประชากรที่สำคัญให้มากขึ้นก-ฎ, 211 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการให้ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนาแบบแผนพฤติกรรมการให้ของคน 3 วัยPattern of giving behavior among three generationsMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล