ยงยุทธ บุราสิทธิ์สาวิตรี แก้วเหล็ก2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93908พัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)การวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนอาชีพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนอาชีพของเกษตรกรในบริบทของชุมชนบ้านหัวถนน หมู่ที่6 ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีในการสำรวจข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านหัวถนน ปรากฎว่าเป็นชุมชมที่มีผู้อาศัย จำนวน 89 ครัวเรือน เดิมมีชื่อว่า บ้านคลองสามสิบสาม ซึ่งเป็นคลองที่แยกมาจากคลองระพีพัฒน์ ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จประมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) มีอายุประมาณ 90 ปี จากหลักฐานนี้ อาจคาดได้ว่าชุมชนบ้านหัวถนนน่าจะมีอายุกว่า 100 ปี อาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านคือการทำนา เริ่มแรกทำนาเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ต่อมาทำนาเพื่อบริโภคด้วยและเพื่อการค้า จึงต้องเพิ่มต้นทุนในการผลิต ผลลัพธ์คือชาวบ้านขาดทุน ก่อให้เกิดหนี้สินตามมาเป็นจำนวนมาก ชาวนาแบกรับภาระหนี้สินไม่ไหว ดังนั้น จึงหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ ทดแทน เช่น ทำสวนส้มเขียวหวาน รับจ้างทั่วไป แต่ยังประสบปัญหาเช่นเดิมอีก จึงทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนมาประกอบอาชีพเพาะเห็ดฟาง และรับจ้างเพาะเห็ดฟางแทน ซึ่งอาชีพดังกล่าวทำให้ชาวบ้านมีรายได้สูง เนื่องจากลงทุนต่ำ ใช้พื้นที่ในการประกอบการน้อย มีตลาดที่มั่นคงรองรับ ราคาเห็ดฟางไม่ผันผวนขึ้นลงมากนัก วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพาะเห็ดหาได้จากท้องถิ่นกล่าวโดยสรุป คือ อาชีพเพาะเห็ดฟาง และรับจ้างเพาะเห็ดฟางก่อให้เกิดผลดีต่างๆ มากมายเช่น ชาวบ้านมีรายได้แน่นอน ลงทุนต่ำ ไม่ต้องอพยพแรงงานไปทำงานต่างพื้นที่ แต่อาชีพนี้ก่อให้เกิดผลลบเช่นกัน อาทิ ปัญหาสุขภาพอนามัย โรคทางเดินหายใจ มลภาวะทางอากาศ การเข้าถึงทรัพยากรบางอย่างยากขึ้น จากการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนอาชีพของชาวบ้านชุมชนบ้านหัวถนนทำให้มีข้อเสนอแนะต่างๆ คือประการแรก ภาครัฐ ควรสนับสนุนให้เกษตรกรจัดตั้งกลุ่มอาชีพ หรือสหกรณ์เพื่อร่วมมือสร้างอำนาจต่อรองกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดทั้งขอทุนสนับสนุนในการพัฒนาอาชีพ ร่วมคิดแก้ไขปัญหาต่างๆประการที่สองคือ ควรมีการแปรรูปเห็ดฟางเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านการตลาด ประการสุดท้าย ควรมีการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้เพาะเห็ดฟาง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันThis qualitative research aimed at studying factors affecting agriculturalists' occupational changes and investigating the consequent effects after the occupational changes in the context of Ban Huathanon Community, Mu 6, Nongmu sub-district, Wiharndang district, Saraburi province. Based on the community's historical survey, it can be concluded that the community consists of 89 families. Actually, Ban Huathanon's original name is Ban Klongsamsipsam. This name was derived from the name of one of the canals which branched off from Rapeepat canal that was dug in the reign of King Wajirawuth (Rama VI). The canal is about 90 years old. From the obtained information, it is assumed that Ban Huathanon Community is over 100 years old. Most of its residents' primitive occupation is farming (rice growing). Initially, people worked on farms to earn their living. Later they grew rice for both their living and trading. Growing rice for trading required more money for capital. They had to increase the production cost, and finally they encountered the losses. Consequently, the farmers had a lot of debts. So, they turned to other jobs, such as harvesting on orange plantations and being hired as general employees. The attempt for new jobs did not give the residents better lives. So, they looked for other careers: cultivating paddy straw mushrooms and being employees in straw mushroom paddies. At this , the people have been successful. They gain more income than from growing rice or oranges. Their success is from many causes: low capital, little land use, permanent market availability, stability of the mushroom's prices, and exploitation of some local materials and equipment. Although cultivating paddy straw mushrooms and being employees in a mushroom greenhouse induces many benefits, these careers cause some problems, such as air pollution, growers' and residents' health deterioration, respiratory disease, and local raw material consumption. From the results of this study, some valuable suggestions are also given and are worth noting. Firstly, the government should provide support to the mushroom farmers in setting up a paddy straw mushroom association and a mushroom cooperative in order to negotiate the prices and the markets, including financial support for occupational development from the government or private sectors. This association probably allows its members to have an opportunity to share ideas and help its members to solve any problems. Secondly, they should have a processing system of producing many forms of processed mushrooms to increase value-added products. Lastly, a mushroom grower network should be constructed as the link for farmers to share opinions, to exchange experience among the members, and to increase the possibility of natural resource accessibility.ก-ฌ, 115 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเปลี่ยนอาชีพอาชีพ -- ไทย -- สระบุรีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพของเกษตรกรบ้านหัวถนน หมู่ที่ 6 ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีA study of the factors having effected and changed agriculturists' professional life at Ban Huathanon Mu 6 Nongmu sub-district, Wihandang district, Saraburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล