ชมพูนุท สุวรรณศรีจิตวรี ขำเดชมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2013-05-082018-03-232013-05-082018-03-232556-04-012552-05วารสารกายภาพบำบัด. ปีที่ 32, ฉบับที่ 2 (2552), 55-660125-4634https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10347งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองความตึงตัวของเส้นประสาท ulnar ด้วยการทดสอบ upper limb neurodynamic 3 [ULNT 3 (ulnar bias)] ของแขนทั้งสองข้าง ในคนไทยสุขภาพดี ช่วงอายุ 17-24 ปี โดยวัดมุมการกางข้อไหล่ บันทึกบริเวณที่แสดงอาการ และลักษณะอาการที่ตอบสนองต่อการทดสอบในระดับเริ่มรู้สึก (threshold level) และระดับทนแทบไม่ไหว (tolerance level) ผู้ถูกทดสอบเป็นชายไทยสุขภาพดี จำนวน 100 คน และหญิงสุขภาพดี จำนวน 100 คน มีลำดับขั้นตอนของการทดสอบด้วย ULNT3 คือ การดึงกระดูกสะบักลง, หมุนข้อไหล่ออกด้านนอก ขณะหงายมือ,กระดกข้อมือและเหยียดนิ้วมือทุกนิ้ว, งอข้อศอก เต็มช่วงการเคลื่อนไหวและกางข้อไหล่ ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของมุม การกางข้อไหล่ ระดับเริ่มรู้สึก (threshold level) ของแขนขวา และ แขนซ้าย เพศชาย เท่ากับ 60.95o ± 10.97o, 60.66o ± 11.57o เพศหญิง เท่ากับ 42.61o± 9.06o, 44.84o ± 10.96o ตามลำดับ มุมการกางข้อไหล่ขวา และ ซ้าย ระดับทนแทบไม่ไหว (tolerance level) ของเพศชาย เท่ากับ 121.01o ± 15.04o , 122.19o ± 16.01o เพศหญิง เท่ากับ 97.78o ± 21.65o , 102.26o ± 20.75o ตามลำดับจากการศึกษาครั้งนี้ อาการตึงพบมากที่สุด บริเวณด้านในของข้อศอก และ บริเวณด้านฐานนิ้วก้อย (hypothenar) ทั้งชายและหญิงต่อการทดสอบ ULNT3 ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้ฐานในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับความตึงตัวของเส้นประสาท ulnar ทั้งชายและหญิงthaมหาวิทยาลัยมหิดลupper limb tensionupper limb neurodynamic tensionnerve tensionnerve mobilizationการตอบสนองต่อการทดสอบความตึงตัวของเส้นประสาท 3 (ulnar bias) ในคนไทยสุขภาพดี อายุ 17-24 ปีThe responses of upper limb neurodynamic tension test 3 (ulnar bias) in healthy Thai people aged 17-24 yearsArticleสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย