พรรณรัตน์ แสงเพิ่มทัศนี ประสบกิตติคุณณิชาภา พลสิงห์2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93413การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง เดียวจากพยาบาลตามการรับรู้ของมารดาและของพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาครรภ์แรกหลังคลอดปกติ จำนวน 64 คน และพยาบาลในหน่วยหลังคลอดและหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและของพยาบาล และแบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจากพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า มารดาและพยาบาลมีคะแนนการรับรู้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่อย่างเดียวจากพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 89.41, SD =16.35 และ M = 98.16, SD = 9.69 ตามลำดับ) มารดาและพยาบาลมีการรับรู้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจากพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.107, p < .01) จากผลการศึกษา พยาบาลควรตระหนักว่ามารดาครรภ์แรกอาจต้องการการสนับสนุนการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจากพยาบาลมากกว่าที่พยาบาลคิด จึงควรสอบถามความต้องการของมารดาแต่ละคนเพื่อวางแผนให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแก่มารดาที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นThe present study was aimed at comparing exclusive breastfeeding support from nurses based on the perception of mothers and nurses. The sample group consisted of 64 postpartum primiparous mothers with normal deliveries and 25 nurses in the postpartum and Neonatal Intensive Care Unit (NICU) at Chumphon Khet Udomsakdi Hospital. Data collection was conducted from August-December 2013. The Demographic Data Questionnaires for mothers and nurses were used together with the Exclusive Breast Feeding Support from Nurses Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and a t-test for two independent samples. According to the findings, both the mothers and nurses had high overall perceived exclusive breastfeeding support from nurses (M = 89.41, SD = 16.35 and M = 98.16, SD = 9.69, respectively). The mothers and nurses perceived exclusive breastfeeding support from nurses differently with statistical significance (t = -3.107, p < .01) According to the findings, nurses should be aware that primiparous mothers might require more exclusive breastfeeding support more than it was believed by nurses. Hence, nurses should ask each mother about her needs in order to more extensively plan exclusive breastfeeding support for mothers.ก-ฌ, 113 แผ่น : ภาพประกอบ,ตารางapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้ำนมมารดา, การเลี้ยงลูกการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยยนมแม่อย่างเดียวจากพยาบาลตามการรับรู้ของมารดาและของพยาบาลExclusive breastfeeding support from nurses as perceived by mothers and nursesMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล