สุพรรษา ขวัญสมคิดวนิดา เสนะสิทธิพันธุ์อาภาวรรณ หนูคงSupansa KwansomkidWanida SanasuttipunApawan Nookong2024-06-272024-06-272567-06-272566https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99139วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงจูงใจภายใน อาการซึมเศร้า ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อายุระหว่าง 13-18 ปี จำนวน 113 ราย ที่มารับการรักษาคลินิกโรคเบาหวานเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แบบสอบถามแรงจูงใจภายในในการจัดการโรคเบาหวาน และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็ก การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงจูงใจภายใน และอาการซึมเศร้าสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งห้าด้าน ได้ตั้งแต่ร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 48 ความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ทั้งห้าด้าน ในขณะที่แรงจูงใจภายในสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้เพียงสามด้าน และที่น่าสนใจคือความซึมเศร้าไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเอง สรุปและข้อเสนอแนะ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแรงจูงใจภายในสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ ดังนั้น ทีมสหสาขาวิชาชีพควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแรงจูงใจภายในให้วัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสมยิ่งขึ้นPurpose: The purpose of this study was to examine the predictive ability of health literacy, intrinsic motivation, and depression on self-management behavior among type 1 diabetes adolescents. Design: Correlational predictive design. Methods: The study sample included 113 patients, aged between 13-18 years, who attended Child and Adolescent Diabetes Clinics in three tertiary care public hospitals. The subjects were recruited by convenience sampling. Data were collected using questionnaires: demographic data questionnaire, self-management of type 1 diabetes for adolescents questionnaire, health literacy of type 1 diabetes adolescents questionnaire, intrinsic motivation for diabetes management questionnaire, and children’s depression inventory. Data were analyzed by multiple linear regression. Main findings: According to the findings, health literacy, intrinsic motivation and depression could jointly explain 13% - 48% of the variances in five aspects of self-management behavior among type 1 diabetes adolescents. Depression could significantly predict all five aspects among type 1 diabetes adolescents while intrinsic motivation could significantly predict only three aspects. Interestingly, depression could not predict any aspects of self-management behavior. Conclusion and recommendations: The health literacy and intrinsic motivation can significantly predict self-management behavior among type 1 diabetes adolescents. Therefore, healthcare team should develop program to promote health literacy and intrinsic motivation of type 1 diabetes adolescents in order to increase more appropriate self-management behavior of these adolescents.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าวัยรุ่นความรอบรู้ด้านสุขภาพแรงจูงใจพฤติกรรมการจัดการตนเองโรคเบาหวานชนิดที่ 1วารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1Predictive Factors of Self-management Behavior among Type 1 Diabetes AdolescentsArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล