จุฑาทิพย์ ศิรินพวงศ์ภัทร์ พลอยแหวนJuthathip SirinopphawongPhut Ploywan2025-04-172025-04-172568-04-172567วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2567), 298-3132350-983xhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109572การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 116 คน ในการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สำหรับวิเคราะห์และอธิบายข้อมูลระดับการรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการหาค่าสถิติแบบ Independent-samples t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุงาน สายงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ อายุงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว และสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน จะมีระดับความคาดหวังต่อรูปแบบของสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นบุคลากรที่มีสายงานที่แตกต่างกันThis research aimed 1) to study the level of perceptions and expectations towards Mahidol University (MU)’s flexible health benefit program, 2) to study the differences of perceptions and expectations of Faculty of Social Sciences and Humanities’ Employees toward MU’s flexible health benefits according to personal classification factors, and 3) to present guidelines for developing MU’s flexible health benefits to be more effective and efficient. Questionnaires were distributed to collect data from the sample group of all 116 MU’s Faculty of Social Sciences and Humanities personnel. Descriptive statistics were employed to analyze and explain data related to the respondents' individual characteristics. Independent-samples t-test and One-Way ANOVA statistical methods were used to test the hypotheses. Some interesting findings included employees with sex, job type, job tenure, salary level, marital status and right to health benefit differences did not perceive MU’s flexible health benefit program differently, except those who had an age difference. Furthermore, employees with sex, age, job tenure, salary level, marital status, and right to health benefit differences did not expect MU’s flexible health benefits differently, except those who differed in job types.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพความคาดหวังการรับรู้บุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลflexible health benefitsexpectationperceptionemployeeFaculty of Social Sciences and HumanitiesMahidol Universityการรับรู้และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลResearch Articleภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล