พลอยชนกภรณ์ เพิ่มแสงสุวรรณขจรยศ อนุรักษ์ธรรมชุติมา ชลายนเดชะมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2022-07-062022-07-062565-07-062562วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ส.ค. 2562), 126-1391513-8429https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72054การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลา และปริมาณกระดาษที่ใช้ ในการสำรวจหนังสือ ระหว่างการใช้และไม่ใช้โปรแกรมการตรวจหนังสือ 2) เพื่อศึกษาความถูกต้องของข้อมูลสำรวจหนังสือเมื่อใช้หรือไม่ใช้โปรแกรมการตรวจนับหนังสือ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการตรวจนับหนังสือ ณ ห้องสมุดคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 20 คน มีช่วงอายุตั้ง 18 ถึง 30 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 80 และเพศชายร้อยละ 20 ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนถูกสุ่มเลือกให้สำรวจทั้งสองโปรแกรมและตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t-test) การทดสอบไคสแควร (chi-square test) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาของข้อมูลในแบบสอบถาม และกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ (p) เท่ากับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าด้านเวลาการใช้โปรแกรมและไม่ใช้โปรแรกมในการสำรวจหนังสือนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ของการจัดเตรียมข้อมูล การจัดเตรียมเอกสาร และสรุปผลการสำรวจ แต่ในการสำรวจหนังสือบนชั้น พบว่าเวลาการสำรวจหนังสือโดยใช้โปรแกรมจะน้อยกว่าการไม่ใช้โปรแกรม 6.42 วินาทีต่อเล่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) และด้านการใช้ทรัพยากรกระดาษ การใช้โปรแกรมสำรวจหนังสือจะไม่ใช้กระดาษ ในขณะที่การไม่ใช้โปรแกรมสำรวจหนังสือใช้กระดาษจำนวน 3 แผ่น ด้านความถูกต้องของข้อมูลในการสำรวจหนังสือพบว่าการใช้โปรแกรมในการสำรวจหนังสือมีความถูกต้องของข้อมูล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยกเว้นการตรวจความถูกต้องของหนังสือชำรุด ไม่ใช้โปรแกรมมีความถูกต้องมากกว่าการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบระดับความพึงพอใจมากที่สุดในทุกด้านของผู้ที่ใช้โปรแกรมการสำรวจหนังสือ การศึกษานี้สรุปได้ว่าโปรแกรมการสำรวจหนังสือสามารถช่วยลดเวลา ทรัพยากรกระดาษ และมีความถูกต้องของการตรวจเลขหนังสือและพบเล่มหนังสือThe objectives of this study were 1) to compare the amount of time and number of paper used to survey books in library between using and not using the counting book programs, 2) to determine data accuracy of using and not using the counting book programs, and 3) to determine the satisfaction of using counting book program in library of Faculty of Physical Therapy, Mahidol University. Twenty participants who aged from 18 to 30 years were 80% for females and 20% for males. Both programs were randomly assigned to perform in all participants. After that they were answered the questionnaire. Data were analyzed by the statistic for comparison between dependent groups (paired t-test), the chi-square test and the descriptive statistic of questionnaire. The p-value was set at 0.05. The results demonstrated nonsignificant difference of time used to survey books in library between using and not using the counting book programs (p<0.05) in the aspect of information and paper preparation, and conclusion. However, the survey books on shelf of using counting book program was 6.42 seconds significantly less than not using program (p=0.04). For the paper resource, there was no paper for using counting book program while 3 pages of papers used for not using program. For data accuracy of the survey books, the results demonstrated that nonsignificant difference (p<0.05) between using and not using programs except the accuracy of damaged books. There was significant difference of accuracy of damage books between using and not using counting book programs (p<0.001). High satisfaction level was demonstrated in the participants who used the counting book program. This study concluded that the counting book program could decrease the amount of time and paper used for survey book in library and the program has data accuracy on checking book number and finding book volumethaมหาวิทยาลัยมหิดลสำรวจหนังสือห้องสมุดโปรแกรมBook surveyLibraryProgramผลการใช้โปรแกรมสำหรับตรวจนับหนังสือในห้องสมุดต่อประสิทธิภาพการทำงานในห้องสมุด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลArticleคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล