โสมนัส ถุงสุวรรณพิชญะ เลาหชัยปิติพล ชูพงศ์นพศักดิ์ ผาสุขกิจวัฒนากษมา แก้วสังข์ทองSomanus ThoongsuwanPitchayah LaohachaiPitipol ChoopongNopasak PhasukkijwatanaKasama Kaewsangthong2025-05-012025-05-012568-05-012565วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 1-82392-5515https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109883ปัจจุบันการฉีดยาเข้าวุ้นตาเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคจอตาหลายโรค โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับการฉีดยามากกว่าหนึ่งครั้งและรับการตรวจติดตามเป็นระยะเวลานาน การทบทวนประวัติการฉีดยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความซับซ้อน ใช้เวลานานและมีโอกาสผิดพลาดสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาหลายครั้ง คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตา (IVT program) ขึ้น เพื่อช่วยให้การดูแลรักษา การตรวจติดตามและการวางแผนการรักษาผู้ป่วยทำได้ง่ายขึ้น รวมทั้งลดความผิดพลาดและระยะเวลาในการค้นหาข้อมูล นอกจากนั้นยังได้ทำการวิจัยขึ้นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ IVT program ในการใช้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตาเทียบกับวิธีการค้นหาข้อมูลแบบปัจจุบันด้วยระบบเวชระเบียน โดยดูจากระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลโดยอาสาสมัครแพทย์ประจำบ้านจำนวน 15 คน ทำการลงข้อมูลในแบบทดสอบที่มีระดับความซับซ้อน 3 ระดับ ระดับละ 2 ชุดโดยแบบทดสอบชุดที่ 1 ค้นข้อมูลจาก IVT program และแบบทดสอบชุดที่ 2 ค้นข้อมูลจากระบบเวชระเบียน และมีเจ้าหน้าที่เก็บระยะเวลาที่ใช้ลงข้อมูลและความถูกต้องในแต่ละแบบทดสอบเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า IVT program สามารถลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการหาข้อมูลจากระบบเวชระเบียน นอกจากนั้นความถูกต้องของข้อมูลจากการค้นด้วย IVT program ยังสูงกว่าการค้นจากระบบเวชระเบียนแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น IVT program จึงมีประสิทธิภาพช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมรวดเร็วยิ่งขึ้นและมีความถูกต้องไม่ต่างกันThis pilot study was designed to evaluate the efficiency of IVT program in retrieving intravitreal injection data compare with the current electronic medical record (SiIT) in term of time and accuracy. Fifteen residents were assigned to complete record forms. The record forms were categorized into 2 groups, which were group 1 and group 2. Each group consisted of 3 difficulty levels (level 1; patients received 3 injections in 1 eye, level 2; patients received 9 injections in 1 eye and level 3 patients received 15 injections in both eyes). The data in group 1 were retrieved from SiIT program while data in group 2 were retrieved from IVT program. The accuracy of retrieved data and time to complete each record form were determined. The results showed that mean time to complete record forms was 237.80 (±51.92), 528.67 (±80.68) and 471.40 (±75.31) seconds in SiIT program and 90.20 (±35.60), 184.93 (±48.81) and 191.33 (±39.44) seconds in IVT program in level 1, 2, and 3 respectively (P<0.001 in all groups when compared between SiIT program and IVT program). The accuracy was 94.17%, 95.07% and 95.08% in SiIT program and 97.5%, 99.1% and 98.9% in IVT program in level 1, 2, and 3, respectively (P=0.32, P=0.08 and P=0.07 in level 1, 2, and 3, respectively when compared between SiIT program and IVT program). In conclusion, a new IVT program to retrieve intravitreal injection data can significantly reduce time compared to current electronic medical record. Although the accuracy was improved in IVT program, there was no statistical significant.8 หน้าapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการฉีดยาเข้าวุ้นตาโปรแกรมฐานข้อมูลintravitreous injectionIVTProgramประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจอตาโดยการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลการฉีดยาเข้าวุ้นตาThe Efficiency of Computer Program in Caring of Patients Receiving Intravitreal InjectionResearch Articleสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลhttp://doi.org/10.14456/jmu.2022.11