ปกรณ์ สิงห์สุริยามานะ เกลี้ยงมะ2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จริยศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93932จริยศาสตร์ศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)การศึกษาในหัวข้อเรื่อง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม กรณีศึกษาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง ในเขตปริมณฑลของเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น และ (2) เพื่อศึกษาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงของการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้เคยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น 4 คน และวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับนักการเมืองท้องถิ่นตั้งแต่เตรียมการเลือกตั้งจนถึงการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทฤษฎีจริยศาสตร์ที่นำมาใช้ศึกษาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มอันตวิทยา ซึ่งครอบคลุมถึงอัตนิยมและประโยชน์นิยม และ กลุ่มกรณียธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงทฤษฎีของค้านท์และสัมพัทธนิยมผลการศึกษาพบว่าการซื้อสิทธ์ขายเสียงเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในกระบวนการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับกระบวนการอื่น เช่น การใช้ช่องว่างทางกฎหมาย และพบว่าการให้เหตุผลจริยธรรมเกี่ยวกับการซื้อสิทธิ์ขายเสียงนั้นอยู่ทั้งในกลุ่มอันตวิทยาและกรณียธรรม สำหรับในกลุ่มอันตวิทยานั้น การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นไปตามทฤษฎีอัตนิยม ส่วนกลุ่มกรณียธรรมนั้น การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธนิยม ข้อเสนอแนะในการวิจัย ได้แก่ ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันนี้กับภูมิภาคอื่นของประเทศ ซึ่งมีบริบทของสังคม เช่น ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน และควรมีการศึกษาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในฝ่ายผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วยThis qualitative research, "Vote buying and the characteristics of moral justification: a case study of a province periphery to Bangkok," aimed (1) to study a process of vote buying in a local election and (2) to study characteristics of moral justification for vote buying in a local election. Data were collected by the method of in-depth interview with 4 informants who were candidates of local elections and the method of participatory observation of political campaigns from the days of preparation until the announcement to certify election results by the Election Commission. Ethical theories used as a conceptual framework comprised 2 groups, deontological and teleological. The former group consisted of Kant's moral theory and relativism. The latter group consisted of egoism and utilitarianism. It was found that vote buying was one of the strategies used to win the election and that moral justifications related to vote buying had both deontological and teleological characters. Those justifications with deontological character bore a relativistic feature while those with teleological character had an egoistic element. It is suggested that the characteristics of moral justification by people in other areas with socio-cultural differences should be studied, and informants should also be extended to people who sell their votes.ก-ช, 99 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเลือกตั้งท้องถิ่นการเลือกตั้ง -- การทุจริต -- ไทยการอ้างเหตุผลจริยศาสตร์สังคมการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงและลักษณะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม :กรณีศึกษาการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครVote buying and characteristic of moral justification : a case study of local elecition in a province peripheral to BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล