ประทุมวดี เถาบุญทิพวัลย์ ดารามาศชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูลPratumwadee ThaobunTipawan DaramasChunruedee Kongsaktrakulมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2020-06-292020-06-292563-06-292562รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 26, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 19-300858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56864การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับในกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้ มือโอบตัวทารกต่อการตอบสนองความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อน กำหนดโดยประเมินพฤติกรรมการตอบสนองต่อความปวด การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้น ของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในทารกเกิดก่อนกหนดที่เข้ารับการรักษาใน หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 30 ราย ซึ่งได้รับการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทารกได้รับทั้งเหตุการณ์ควบคุมคือได้รับการพยาบาล ตามปกติและเหตุการณ์ทดลองคือได้รับการใช้มือโอบตัวทารกประเมินพฤติกรรมการตอบสนอง ต่อความปวดโดยใช้แบบประเมิน The Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติWilcoxonSigned-Rank Test ผลการวิจัยพบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการทดลองที่ ได้รับการใช้มือโอบตัวทารกมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดในขณะเจาะเลือดและหลังเจาะเลือด นาทีที่ 1, 3, 7, และ 10 และค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังเจาะเลือดนาทีที่1 น้อยกว่าทารก เกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติค่าเฉลี่ยความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดหลังเจาะเลือดนาทีที่7 ในช่วงทดลองน้อยกว่าทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการ ควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากผลการวิจัยพบว่า การใช้มือ โอบตัวทารกมีผลในการลดความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนด ดังนั้น จึงควรนำวิธีการใช้มือโอบตัวทารกไปใช้ในการปฏิบัติพยาบาลเพื่อลดความปวดจากการ เจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนดThis quasi-experimental research with a cross-over design aimed to investigate the effects of facilitated tucking on responses to pain, heart rates, and oxygen saturation. Purposive sampling was used to obtain 30 premature infants who were admitted into a neonatal intensive care unit at a university hospital. All subjects received the control condition and treatment condition, but the sequence of receiving the treatment was randomly assigned. The control condition included routine nursing care, while the experimental condition was when the infants received facilitated tucking. The Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) was used to assess the pain scores. The Wilcoxon Signed-Rank test was used to analyze the data. The study results revealed that the mean pain scores of premature infants during and after heel stick at the 1st, 3rd , 7th, and 10th minutes and their mean heart rates after heel stick at the 1st minute in the experimental condition were lower than those in the control condition with statistical significance. The mean oxygen saturation of premature infants after heel stick at the 7th minute in the experimental condition was lower than that of infants in the control condition with statistical significance. The results of this study showed that facilitated tucking could reduce pain after heel stick in premature infants. Therefore, facilitated tucking should be utilized in clinical nursing practice to reduce pain from heel stick in premature infants.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการตอบสนองต่อความปวดการใช้มือโอบตัวทารกการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าทารกเกิดก่อนกำหนดPain responsesFacilitated tuckingHeel stickPremature infantsผลของการใช้มือโอบตัวทารกต่อการตอบสนองความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนดEffects of Facilitated Tucking on Pain Responses to Heel Stick in Premature InfantsArticleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล