ศักดา โกมลสิงห์สุจิตรา เขียวศรีธีรศักดิ์ ศรีสุรกุลSakda KomonsingSuchittra KheowsriTeerasak Srisurakul2024-06-292024-06-292567-06-292566วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565), 19-129https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99224การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาพิการทางการได้ยินจำนวน 118 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 17 แห่ง จากการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาพิการทางการได้ยินในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบ Google form พร้อมคลิปวีดิทัศน์คำอธิบายภาษามือไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาพิการทางการได้ยิน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินให้ผู้ประสานงานในมหาวิทยาลัย ส่งต่อให้นักศึกษาพิการทางการได้ยินสแกนผ่าน QR Code และเก็บรวบรวมแบบสอบถามในปีการศึกษา 2564 ใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติอ้างอิงในการอธิบายข้อมูล สรุปผลการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ล่ามภาษามือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และคำบรรยายแทนเสียง ในขณะที่รายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้ช่วยจดคำบรรยาย เครื่องช่วยฟัง และอักษรวิ่ง ส่วนปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก มีดังนี้ ด้านชั้นปีที่กำลังศึกษาส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ด้านสาขาวิชาที่เรียนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ และล่ามภาษามือ ด้านระดับการได้ยินในปัจจุบันส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง และล่ามภาษามือ ด้านวิธีการสื่อสารส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และล่ามภาษามือ ด้านโรงเรียนหรือสถาบันที่เคยศึกษามาก่อนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และล่ามภาษามือ ในขณะที่ความแตกต่างด้านระยะเวลาที่เกิดความพิการและการผ่าตัดประสาทหูเทียม ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกThe study on using assistive technologies for hearing-impaired undergraduate students aimed to study the conditions of using assistive technology, and to study the relationship between personal characteristics of undergraduate students with hearing impairment and using assistive technology. The study was implemented to 118 students with hearing impairment obtained by purposive sampling, from 17 universities based on the calculated proportion of students with hearing impairment in public higher education institutions of Thailand. The instrument was a Google Form questionnaire about using assistive technology, with Thai sign language video clip for the descriptions. The questionnaire consisted of 2 parts, 1) personal and general data of students with hearing impairment, and 2) data about using assistive technology for students with hearing impairment. The university coordinators were requested to forward the questionnaire to students with hearing impairment for QR Code scanning. The questionnaire was collected in 2021. The statistics used were descriptive statistics and inferential statistics for data description. The hypothesis testing were conducted using ANOVA. The mean difference between groups were compared by multiple comparison. It was found that the highly required items of assistive technology included smartphones, laptops, sign language interpreters, tablets, VDOs for lesson review, and captioning. The moderately required items included desktop computers, notetaker, hearing aids, and scrolling texts. As for personal characteristics that caused the differences of the requirement levels of using assistive technology, they were found as follows. Their years of study caused the difference of using tablets. Fields of study/programs caused the differences of using laptops, tablets and sign language interpreters. Level of hearing caused the differences of using hearing aids and sign language interpreters. Communication methods caused the differences of using hearing aids, tablets, VDOs for lesson review, and sign language interpreters. Schools or previous educational institutions caused the differences of using hearing aids, smartphones, and sign language interpreters. In contrast, the differences of impairment durations and cochlear implant surgery did not cause any differences of the requirement levels of using assistive technology.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าAssistive TechnologyHearing-Impaired Undergraduate StudentsMediaEducational Servicesเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนักศึกษาพิการทางการได้ยินสื่อบริการทางการศึกษาวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการJournal of Ratchasuda CollegeResearch and Development of Persons With Disabilitiesการศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีThe Study on Using Assistive Technologies for Hearing-Impaired Undergraduate StudentsArticleวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล