กนกพร แก้วโยธาสุมลชาติ ดวงบุบผาพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริKanokporn KaewyotaSumolchat DuangbubphaPoolsuk Janepanish VisudtibhanSurasak Kantachuvesiriมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์2022-10-202022-10-202565-10-202565รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2565), 240-2532672-9784 (Online)0858-9739 (Print)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79930บทคัดย่อ :การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ประกอบด้วยความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ทัศนคติในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วยวิกฤต และการได้รับการอบรม กับการรับรู้การปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันสำหรับผู้ป่วยวิกฤตของพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 141 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ทัศนคติ ในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน และการรับรู้การปฏิบัติในการป้องกันการเกิดภาวะ ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันอยู่ใน ระดับปานกลาง มีทัศนคติในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันอยู่ในระดับดี และมีการรับรู้การปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ความรู้ในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน และทัศนคติเชิงบวกในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้การปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันของพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วยวิกฤตและการได้รับการอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การปฏิบัติในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันของพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต ดังนั้น พยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตควรได้รับการเพิ่มพูนองค์ความรู้และเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตให้ดียิ่งขึ้นAbstract:This study aimed to examine the relationships among knowledge about AKI prevention, attitude towards AKI prevention, working experience in intensive care units (ICU), training experience, and perceived practice for acute kidney injury (AKI)prevention for critically ill patients among ICU nurses. A sample of 141 ICU nurses in a general hospital participated in the study. Data were collected using four questionnaires to collect demographic data, knowledge about AKI prevention, attitude towards AKI prevention, and perceived practice for AKI prevention for critically ill patients. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman's rank correlation coefficient. The results demonstrated that most participants had a moderate level of knowledge regarding AKI prevention, a good level of attitude towards AKI prevention, and a high level of perceived practice for AKI prevention. Knowledge about AKI prevention and positive attitude towards AKI prevention were significantly positively related to the perceived practice for AKI prevention among ICU nurses. On the other hand, working experience at ICUs and training experience were not related to perceived practice regarding AKI prevention. Therefore, ICU nurses should be encouraged to increase their knowledge and promote positive attitudes about AKI prevention to increase the effectiveness of prevention of AKI in critically ill patients. Keywords: Knowledge, Attitude, Perceived practice, Acute kidney injury, Critically ill patients, ICU nursesthaมหาวิทยาลัยมหิดลความรู้ทัศนคติการรับรู้การปฏิบัติภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันผู้ป่วยวิกฤตพยาบาลหน่วยวิกฤตKnowledgeAttitudePerception of practiceAcute kidney injuryCritically ill patientsICU nursesปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันสำหรับผู้ป่วยวิกฤตของพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตSelected Factors Related to Perceived Practice for Acute Kidney Injury Prevention for Critically Ill Patients among Nurses in Intensive Care UnitsResearch Articleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล