พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ชาญณรงค์ บุญหนุนวัลลภ ภุมรา2024-01-092024-01-09256225622567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92063สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)วิทยานิพนธ์เรื่อง "อัตลักษณ์และความรุนแรงในพุทธศาสนานิกายเถรวาทประเทศไทยกรณีศึกษาวัดป่าแห่งหนึ่ง เป็นการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ความขัดแย้งภายในพุทธศาสนานิกายเถรวาทประเทศไทยระหว่างอัตลักษณ์ที่ประกอบสร้างขึ้นจาก "พุทธวจน" กับอัตลักษณ์กระแสหลักที่มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองที่กาหนดระเบียบแบบแผนของพุทธศาสนานิกายเถรวาทประเทศไทย โดยใช้แนว คิดเรื่อง "อัตลักษณ์เชิงเดี่ยว" ของ อมารตยา เซน (Amartya Sen) และ "ทฤษฎีความรุนแรง" ของ โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ของวัดป่าแห่งหนึ่งที่ประกอบสร้างขึ้นโดยการอิงกับหลักธรรมคำสอนจาก "พุทธวจน" ถูกมองว่า "เป็นอื่น" ที่ไม่เข้ากับนิยามพุทธศาสนาเถรวาทกระแสหลักของไทยที่ประกอบสร้างและผูกพันกับโครงสร้างอำนาจรัฐและสถาบันกษัตริย์รวมศูนย์ ส่งผลให้อัตลักษณ์อื่นที่ประกอบสร้างขึ้นมาใหม่แม้จะยึดโยงกับความเป็นเถรวาทแต่ถือว่า "ไม่เข้าพวก" จึงถูกจัดให้เป็นอัตลักษณ์ "กระแสรอง" และมีความพยายามที่จะเบียดขับ กีดกัน ผลักอัตลักษณ์กระแสรองออกจากสังคมพุทธเถรวาทไทย 2) วิธีการต่อสู้และต่อรองกับอำนาจพุทธศาสนาเถรวาทกระแสหลักของวัดป่าแห่งหนึ่งเพื่อรักษาและยืนยันอัตลักษณ์ของตนไว้ กระทำผ่านประการที่ 1 การยอมรับมติมหาเถรสมาคมที่ตัดสินให้วัดป่าแห่งหนึ่งซึ่งสวดพระปาติโมกข์ 150 ข้อ ว่าไม่เป็นไปตามประเพณีปฏิบัติ ทำให้วัดป่าแห่งหนึ่งจำต้องยอมกลับมาสวด 227 ข้อ ตามมตินั้น ประการที่ 2 การปฏิบัติศาสนพิธีกรรมกรานกฐินในแบบเฉพาะของวัดป่าแห่งหนึ่งตามแบบ "พุทธวจน" ประการที่ 3 การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรภาครัฐและเอกชนโดยการเข้าไปบรรยาย แนวคิดและการปฏิบัติตาม "พุทธวจน" ประการที่ 4 การใช้เครื่องมือการสื่อสารสมัยใหม่เพื่อเผยแพร่แนวคิดและการปฏิบัติตาม "พุทธวจน" 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอัตลักษณ์พุทธศาสนาเถรวาทกระแสหลักกับกระแสรอง คือ การเคารพในสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา และการเปิดพื้นที่ให้มีการตีความพุทธศาสนาที่แตกต่างกันได้This study aims to analyse the conflict phenomena within Theravada Buddhism between the newly constructed identity of Buddhawajana Sect. and the mainstream Thai Theravada Buddhist identity under supervision and regulations of Supreme Sangha Council of Thailand (Mahathera Samagama) by using the concept of Amartya Sen's "Singular Identity" and Johan Galtung's "Theory of Violence." Data were collected using interviews with 10 key informants. There are three findings in this study. Firstly, the identity constructed by a Thai Forest Monastery in this case study which is referred to Buddhavacana, the Word of the Buddha or authentic teaching of historical Buddha, is seen as "otherness" which is not associated with the definition of Thai Theravada Buddhism constructed by and linked to centralized state structure and monarchy institution. Despite its affiliation with Theravada Buddhism, this newly constructed identity is excluded from the mainstream; therefore, it becomes an alternative or non-mainstream identity. Secondly, the forest monastery in this case study has struggled and negotiated power relations with Thai mainstream Theravada Buddhism in order to maintain and assert its identity through different methods, for example, consenting to Supreme Sangha Council resolution on chanting of Patimokkha or the basic monastic discipline of 227 rules instead of their traditional 150 rules, using their own rituals, organizing lectures on Buddhavacana in several public and private organizations, building close relationship with middle class as well as using social media or new media. Thirdly, the approach for resolving this conflict between mainstream and alternative identities in Thai Theravada Buddhism is to respect rights and freedom of religion and to allow space for different interpretations in Buddhism.ก-ซ, 144 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าพุทธศาสนาเถรวาท -- ไทยความรุนแรง -- แง่ศาสนาอัตลักษณ์อัตลักษณ์และความรุนแรงในพุทธศาสนานิกายเถรวาทประเทศไทย : กรณีศึกษาวัดป่าแห่งหนึ่งIdentity and violence in Thai Theravada Buddhism : a case study of a Thai forest monasteryMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล