วสันต์ ตระกูลสุนทรชัยเยาวลักษณ์ จันทรเรืองนภาชุติมา สวัสดิ์วิภาชัยวิไลลักษณ์ พันภูมิชนิตา บัวทองมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี2021-09-222021-09-222564-09-222561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63642ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 256ผู้ป่วยหน่วยไตเทียมจำนวน 45 ราย มีเส้นสำหรับใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Vascular Access) ดังนี้ 1.สายสวนหลอดเลือดดำ (TCC) 15 ราย (33%) 2.เส้นเลือดตนเอง (AVF) 10 ราย (22%) และ 3.เส้นเลือดเทียม (AVG) 20 ราย (45%) ซึ่งมีปริมาณมากที่สุดและเกิดการอุดตันภายหลังใช้งานประมาณ 2 ปีมากที่สุดเช่นกัน การตรวจลักษณะภายนอก และติดตามแรงดันระหว่างฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียมไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงของเส้นฟอกเลือดได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้เส้นเลือดเทียมอุดตันก่อนพบศัลยแพทย์หลอดเลือด ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการฟอกเลือดตามแผนการรักษา จึงได้มีการวัดแรงดันเส้นด้วยอุปกรณ์ที่จัดหามาในผู้ป่วยที่ใช้เส้นเลือดเทียมทุกราย ทุกเดือน ติดตามแนวโน้มของแรงดันเส้นตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบตามค่ามาตรฐาน และส่งต่อเพื่อพบแพทย์เมื่อค่าที่ได้มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด พบว่าพยาบาลสามารถประเมินเส้นเลือดเทียมได้อย่างถูกต้องตามหลักการ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมthaมหาวิทยาลัยมหิดลฟอกเลือดเครื่องไตเทียมVascular Accessการฟอกเลือดเตือนก่อนตัน แค่วัดแรงดันเส้นProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล