สุพัตรา เขียวหวานนภารัตน์ อมรพุฒิสถาพรกุลปรานี พงศ์สุวภาพสุดาภรณ์ บุญเทศรุจิรา ทองเพ็ชร์อัมภารัศมิ์ เทพประสิทธิ์อัญชิสา บุญเทียมมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาอายุรศาสตร์2022-08-232022-08-232565-01-232564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79456ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 85-86การใช้กระบอกกักยาหรือเรียกว่า สเปเซอร์ (Spacer) โดยนำมาใช้กับยาสูดพ่นประเภท pMDI (Pressurized Metered dose Inhaler) เพื่อลดการไม่ประสาน (incoordination) ระหว่างการกดยากับการสูดยา ช่วยลดขนาดละอองยา ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่เข้าปอด ลดการสะสมของยาที่คอหอยและช่องปาก ลดความเร็วของละอองลอยที่ทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจชั่วขณะเนื่องจากละอองยากระทบเพดานอ่อนด้วยความเร็วสูง (cold-freon effect) และลดผลข้างเคียงจากยาสูด พ่นขยายหลอดลมชนิดที่มีสเตียรอยด์(steroid) ทีมงานจึงได้คิดค้นและประดิษฐ์อุปกรณ์กระบอกพ่นยาชนิดมีหน้ากาก และวาล์ว RAMA 305 spacer ( Valved Holding Chamber with mask ) โดยใช้วัสดุที่หาง่าย ต้นทุนต่าง งบประมาณ 13.08 บาทต่ออัน โดยมีวาล์วขาเข้า (Internal Valve) ติดที่ปากขวดน้าดื่ม และวาล์วขาออก (External Valve) ติดที่หน้ากาก ซึ่งวาล์วจะเปิดปิดตามจังหวะการหายใจ ทำให้ลมหายใจที่ปล่อยออกมาไม่รวมกับตัวยาในกระบอกพ่นยา (Spacer) ทำให้ยาไม่รั่วไหลออกภายนอก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งยาเข้าสู่ปอดได้ดียิ่งขึ้น นำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยา pMDI ไม่ถูกต้อง และใช้ในห้อง ปฎิบัติงานหัตถการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ วัตถุประสงค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ 1) เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคระบบการหายใจที่มีปัญหา การกดสูดยา pMDI ที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือไม่สามารถควบคุมการหายใจในการสูด ยาได้ทางปาก 2) ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้รับบริการ 3) ลดโอกาสสัมผัสเชื้อโรคจากสถานการณ์โคโรนาไวรัส (COVID-19) ระบาดในปัจจุบัน ผลจากการนำอุปกรณ์ไปใช้งานในด้านความคงทน ในผู้ป่วย จำนวน 16 ราย โดยนำกลับไปใช้ที่บ้าน ระยะเวลาที่ใช้งานเฉลี่ย 3.25 เดือน SD=2.29, 1-7 (min-max) ผลความพึงพอใจหลักในด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ความสะดวก ความปลอดภัย และความมีคุณค่า พบว่า อยู่ในระดับมาก การใช้กระบอกพ่นยา RAMA 305 spacer จึงเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการยาขยายหลอดลมในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคสามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยโรคระบบการหายใจเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยกำเริบฉับพลันที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉินthaมหาวิทยาลัยมหิดลDIY spacerValved Holding ChamberโรคระบบทางเดินหายใจMahidol Quality Fairกระบอกพ่นยาทำด้วยตนเองชนิดมีหน้ากากและวาล์ว (Valved Holding Chamber with mask ; RAMA 305 spacer)Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล