สันติ วินัยธรรมสุคนธา ศิริณัฐนารี เอมยงค์Santi WinaithamSukhontha SiriNatnaree Aimyongมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ2020-12-172020-12-172563-12-182560วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2560), 75-87https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60296ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูบบุหรี่มากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลก การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรังอื่น ๆ และการเสียชีวิตชายไทยที่มีอายุระหว่าง 19-24 ปี มีแนวโน้มการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในกลุ่มของชายไทยที่เข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 509 คน ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม พบว่า มีจำนวนคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันคนที่เคยลองหรือเลิกสูบแล้ว ร้อยละ 41.65, 30.45 และ 27.90 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีสมาชิกในกลุ่มเพื่อนสูบบุหรี่ (OR = 5.95) การสูบบุหรี่ของสมาชิกในครอบครัว (OR = 2.16) การดื่มแอลกกอฮอล์ (OR = 1.80) การมีอาชีพก่อนเข้ารับราชการ (OR = 1.73) และทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่ (OR = 1.56) โดยปัจจัยทางสังคมเป็นปัจจัยเชิงบวกที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากค่า Odd ratio เกี่ยวกับปัจจัย ทางสังคมระหว่าง model 1 กับ model 2 ที่มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนใน model 2 (model 1; การมี สมาชิกในกลุ่มเพื่อนสูบบุหรี่ (OR = 2.85), การสูบบุหรี่ของสมาชิกในครอบครัว (OR = 1.55))One-third of people around the world are current smokers. Tobacco is a major cause of mortality and many chronic diseases. In Thailand, trend of current smoker among male 19-24 year of age has increased. The aim of study is to identify the social factors that related to smoking behavior among conscripts. The self-administered questionnaires were distributed to 509 military conscripts in the northern part of Thailand. The results from descriptive and multinomial logistic regression showed that percentage of never smokers, current smokers, former or non-daily smokers were 41.65, 30.45 and 27.90 respectively. The factors affected to smoking behavior included peer smoking (OR = 5.95), family members smoking (OR = 2.16), alcohol consumption (OR = 1.80), history of employment (OR = 1.73) and positive attitude about smoking (OR = 1.56). Inclusion, the social factors are influential factors of current smokers among military conscripts. According to, Odd ratio of social factors between model 1 and model 2 obviously increased in model 2 (model 1; peer smoking (OR = 2.85), family members smoking (OR = 1.55)).thaมหาวิทยาลัยมหิดลปัจจัยทางสังคมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ทหารกองประจำการSocial factorsSmoking behaviorMilitary conscriptsอิทธิพลของปัจจัยทางสังคมต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารกองประจำการในเขตภาคเหนือของประเทศไทยInfluence of Social Determinate on Smoking Behavior among Military Conscripts in the Northern ThailandResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล