ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัดสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญจวน ไชยสุวรรณนภ กาญจนกันติมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์2010-04-012011-08-292018-07-302010-04-012011-08-292018-07-302553-04-012548-07วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (2548), 170-188.1686-9443https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2190367 หน้าบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเขตจังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานฝ่ายปกครองในการมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และเป็นการศึกษาว่าประเภทคดีใดบ้างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตลอดจนปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานฝ่ายปกครองในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันทางนโยบายอาญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและกำหนดพื้นที่การวิจัยในเขตจังหวัดนครปฐมโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มย่อย จากเอกสารและการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและมีอำนาจตามกฎหมายในการไกล่เกลี่ยคดีทางแพ่งทุกประเภท และคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความกันได้ ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจแม้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายกำหนด ให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจมีบทบาทที่ประชาชนยอมรับให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยประเภทคดีที่มีการไกล่เกลี่ยโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นทั้งคดีแพ่งและ คดีความผิดที่ยอมความกันได้และความผิดที่ยอมความกันไม่ได้ ส่วนปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของฝ่ายปกครองคือการขาดประสิทธิภาพของเจ้าพนักงานในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ส่วน เจ้าหน้าที่ตำรวจประสบปัญหาการขาดอำนาจตามกฎหมายในการเข้าไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ดังนั้นควรมีปรับบทบาทของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่าควรให้องค์กรใดบ้างมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยควรคำนึงถึงการมีกฎหมายคุ้มครองการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วยเช่นกัน1367242 bytesapplication/pdfthaมหาวิทยาลัยมหิดลข้อพิพาทเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองเจ้าหน้าที่ตำรวจไกล่เกลี่ยMediationการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเขตจังหวัดนครปฐมThe mediation in Nakhon Pathom province, ThailandResearch Articleคณะสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล