Veena SirisookMullika MuttikoPornlert ChatkaewWacharin Sindhvananda2023-09-062023-09-06201020102023Thesis (Ph.D. (Medical and Health Social Sciences))--Mahidol University, 2010https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89418สถานการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในสังคมไทยในระยะเวลาหลายปี ที่ผ่านมาคือการเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่าง แพทย์ ผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับการพักการรักษาที่อาจไม่จำ เป็นในระยะสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วย หากนำทฤษฎีทางสังคมวิทยา ของฮาบามาสมาประยุกต์ จะทำ ให้ตระหนักว่าส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการสื่อสาร ซึ่งต้องมีความเข้าใจถึงต้นตอของรูปแบบการ สื่อสารอย่างแท้จริง ฮาบามาสกล่าวถึงรูปแบบการสื่อสารหนึ่งที่พบบ่อยในสังคมปัจจุบันคือรูปแบบการสื่อสารแบบกลยุทธ์ที่ ได้รับอิทธิพลจากอุดมคติทางวิทยาศาสตร์ จนนำไปสู่การเกิดความเป็นเหตุเป็นผลแบบพิเศษชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามฮาบามาส เสนอว่าควรมีการสร้างรูปแบบการสื่อสารแบบเท่าเทียมขึ้นเพื่อทำให้การสื่อสารแบบกลยุทธ์ลดลง ในที่สุดปัญหาสังคมที่เกิด จากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันอาจคลี่คลายลงได้ ดังนั้นการสืบค้นต้นตอของรูปแบบการสื่อสารทั้งสองแบบน่าจะมีประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้ การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารทั้งสอง ซึ่งมีทั้งสิ้นแปดปัจจัย (อุดมคติทางการแพทย์ อุดมคติทางระบบ อุดม คติทางศีลธรรม คุณค่าการวิจารณ์ ความเป็นเหตุผลทางความคิดเชิงกลยุทธ์ ความเป็นเหตุเป็นผลแบบศีลธรรมเชิงปฏิบัติ การ สื่อสารแบบกลยุทธ์ และการสื่อสารแบบเท่าเทียม)โดยสำรวจความคิดเห็นจากแพทย์ทั่วไปที่กำลังศึกษาต่อในชั้นปี ที่ 1 ปี การศึกษา 2552 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมทั้งสิ้น 173 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบ เขียนตอบด้วยตนเอง โดย แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเฉพาะนี้ประกอบด้วยแปดมาตรวัด ได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์คุณภาพด้านความเที่ยงตามเนื้อหา และ ความเชื่อมั่นของคอนบราค ใช้การวิเคราะห์เส้นทางในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลพร้อมกันระหว่างแปดปัจจัย ผลการศึกษาที่สำคัญ คือพบว่าเส้นทางการเกิดการสื่อสารแบบกลยุทธ์ เป็นไปตามทฤษฎีกล่าวอ้าง โดยปัจจัยที่ ส่งผลโดยตรงได้แก่ ความเป็นเหตุผลทางความคิดเชิงกลยุทธ์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมได้แก่ อุดมคติทางการแพทย์ อุดมคติ ทางระบบ นอกจากนี้ผลการศึกษาส่วนใหญ่บ่งเป็นนัยว่ามีภาวะ 'ชีวิตถูกครอบงำโดยระบบ' จริง ซึ่งระบบไม่ได้ ส่งอิทธิพลแค่ ระดับการใช้เหตุผลดังที่กล่าวในทฤษฎีเท่านั้น แต่ ส่งอิทธิพลในระดับความคิดอุดมคติด้วย ในระดับการใช้เหตุผล ระบบอาจทำ ให้ความเป็นเหตุเป็นผลแบบศีลธรรมเชิงปฏิบัติเปลี่ยนรูปไป จนกลายเป็นมีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบกลยุทธ์ ส่วนของการ สื่อสารแบบเท่าเทียมที่พบในการศึกษานี้ยังเป็นประเด็นที่น่าสงสัยว่าอาจไม่ใช่การสื่อสารแบบเท่าเทียมจริง เพราะคะแนนส่วน 'ความจริงใจในการสื่อสาร' ต่ำ ที่สุด จึงมีความเป็นไปได้ที่รูปแบบการสื่อสารที่แพทย์ใช้ค่อนข้างมากคือการสื่อสารแบบกลยุทธ์ นอกจากนี้รายละเอียดของผลการศึกษาหลายประการบ่งว่าอาจประยุกต์คา สอนทางพุทธศาสนา รวมทั้ง อาจจัดการเรียนการสอน จริยธรรมสา หรับแพทย์ใหม่โดยปรับเป็นรูปแบบที่เน้นความเข้าใจศีลธรรมผ่านประสบการณ์จริง แทนการเรียนการสอนแบบ บอกกล่าวและจดจำ จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากการครอบงำโดยระบบได้xi, 210 leaves : ill.application/pdfengCommunication in medicineHealth risk communicationMedical informaticsCausal paths of communicative actions and strategic actions in physicians' communication regarding passive euthanasiaเส้นทางการเกิดการสื่อสารแบบเท่าเทียมหรือการสื่อสารแบบใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารของแพทย์เกี่ยวกับการพักการรักษาที่อาจไม่จำเป็นในระยะสุดท้ายของชีวิตMahidol University