บังอร เทพเทียนปิยฉัตร ตระกูลวงษ์มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน2017-06-132017-06-132017-06-132551วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 6, ฉบับที่ 3 (2551), 17-301905-1387https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2020การสำรวจพฤติกรรมทางเพศของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการสำรวจ 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2551 การสำรวจทั้ง 2 ครั้ง ดำเนินการในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจทั้งหมด 2,235 ราย เป็นเพศหญิงและเพศชายในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจในปี พ.ศ. 2551 กำหนดช่วงอายุ 15 - 49 ปี ขณะที่ในปี พ.ศ. 2549 ได้กำหนดช่วงอายุ 15 - 29 ปี เท่านั้น ผลการสำรวจข้อมูลชี้ชัดว่า คนในชุมชนมีวิถีเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนรูปแบบไป กล่าวคือ มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก กับคู่รักหรือแฟนโดยไม่มีการป้องกันมากขึ้น ด้วยความเชื่อว่าคู่รักหรือแฟนเป็นคู่นอนที่ปลอดภัย อัตราการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอกับคู่รักหรือแฟนน้อยกว่าคู่นอนประเภทอื่นๆ อย่างชัดเจน ผู้ชายมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอมากกว่าผู้หญิงอย่างชัดเจนเช่นกัน ดังนั้นคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะให้ความสนใจ หรือเลือกว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับใครที่จะปลอดภัยมากกว่าการคิดถึงหรือเลือกความปลอดภัยโดยนึกถึงถุงยางอนามัย ผลการศึกษาซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า กรุงเทพฯ จำเป็นต้องดำเนินการนโยบายเพื่อป้องกันโรคเอดส์อย่างเข้มข้นต่อไป โดยให้ความสำคัญกับบริบทของเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนรูปแบบไปการดำเนินโครงการด้านการป้องกัน ควรจะต้องมองให้ลึกถึงวิถิเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้ชายด้วยA survey of the sexual behavior of 2,235 people living in a community in metropolitan Bangkok was conducted in 2006, and replicated in 2008. Participants in the survey were aged 15 to 29 years in 2006, and 15 to 49 years in 2008. The survey group comprised approximately equal numbers of males and females. This research found that sexual behavior in 2006 differed from that in 2008 in that condom use during first sexual intercourse experience with a boyfriend/girlfriend was higher in 2006 than 2008. Survey subjects widely believed that intercourse in such situations was relatively safe. Condoms were used less consistently in intercourse with a boyfriend/girlfriend than with other types of sexual partner. At first sexual intercourse, males were more likely to use condoms than females. The decision to use a condom, or not, depended the nature of the intended partner and perceptions of the risk they represented of HIV infection. Considerations of personal safety were less important. These results suggest that the Bangkok metropolitan Administration needs to maintain its strong policy and continue its program of HIV/AIDS prevention. It is essential that prevention strategies should take into account the differing and changing attitudes, beliefs and habits of the various sections of the target population.thaมหาวิทยาลัยมหิดลพฤติกรรมทางเพศกรุงเทพมหานครOpen Access articleJournal of Public Health and Developmentวารสารสาธารณสุขและการพัฒนาวิถีเพศสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในรอบ 2 ปีThe way of sexual life of people living in a community in metropolitan BangkokResearch Articleสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล