อณัส อมาตยกุลปกรณ์ สิงห์สุริยาอาทร ไหมทอง2024-01-152024-01-15255925672559วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนากับการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92838ศาสนากับการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาสภาพการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านทั่วไป ทำการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาทั้งหมด 81 โรงเรียนและเก็บข้อมูลจากวิทยากรอิสลามศึกษา ทั้งหมด 119 คน ผลการวิจัยชี้ว่าข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนอิสลามศึกษาแสดงว่าสภาพการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.630 ) ด้านที่อยู่ในระดับสูงที่สุด คือ ด้านวิชาการ ( x̄ = 3.747 ) รองลงมาคือด้านบุคคล ( x̄ = 3.743 ) ขณะที่ด้านทั่วไป ( x̄ = 3.736 ) และด้านงบประมาณ ( x̄ = 3.294 ) อยู่ในระดับต่ำที่สุด ข้อมูลวิทยากรอิสลามศึกษาระบุว่า สภาพการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 3.282 ) และด้านที่อยู่ในระดับสูงที่สุด คือ ด้านวิชาการ ( x̄ = 3.680 ) รองลงมาคือด้านบุคคล ( x̄ = 3.509 ) ขณะที่ด้านทั่วไป ( x̄ = 3.365 ) และด้านงบประมาณ ( x̄ = 2.572 ) อยู่ในระดับต่ำที่สุดตามลำดับ งานวิจัย นี้มีข้อเสนอแนะว่าในด้านทั่วไป ควรสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผนการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา และควรจัดหาเอกสาร ตำราวิชาการด้านศาสนาอิสลามเพิ่มเติมในห้องสมุดของโรงเรียน ในด้านงบประมาณควรส่งเสริมให้มีการระดมทุนจากชุมชนและท้องถิ่นเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา และควรมีการแจกแจงงบประมาณสำหรับอิสลามศึกษา เพื่อจะได้มีการวางแผนการใช้งบประมาณ และสะดวกในการตรวจสอบThis research aimed to survey the state of Islamic education provision in schools under Bangkok Metropolitan Administration and offer recommendations to support the Islamic education provision in these schools. The survey covered all four aspects of the education provision i.e. academic, financial, personnel and general aspects. Data were collected from administrators of 81 schools and 119 Islamic studies instructors. Findings showed that the data collected from the administrators indicated that the state of the Islamic education provision as a whole was in high level ( x̄= 3.630 ). The academic aspect had the highest score ( x̄= 3.747 ) while the personnel aspect had the second highest score ( x̄= 3.743 ). The general aspect ( x̄= 3.736 ) and financial aspect ( x̄= 3.294) had the lowest scores consecutively. The data from the Islamic studies instructors indicated that the state of the Islamic education provision as a whole was in moderate level ( x̄= 3.282 ). The academic aspect had the highest score ( x̄= 3.680 )while the personnel aspect had the second highest score ( x̄= 3.509 ).The general aspect ( x̄= 3.365 ) and financial aspect ( x̄= 2.572 ) had the lowest scores consecutively. This research recommended that, regarding the general aspect, the schools should encourage research to develop policies and educational plans for the Islamic studies and provide more textbooks and other documents related to the Islamic studies in the schools' libraries. Regarding the financial aspect, the schools should raise funds from the surround communities to support the Islamic studies and show budget details for the Islamic studies to facilitate planning and monitoring.ก-ฎ, 180 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโรงเรียน -- ไทย -- กรุงเทพฯอิสลามศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯสภาพการจัดการศึกษาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครThe state of Islamic education provision in schools under Bangkok metropolitan administrationMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล