เนาวรัตน์ เจริญค้านิภาพรรณ กังสกุลนิติสตีเฟ่น ฮาแมนน์สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์Naowrut CharoencaNipapun Kungskulnitiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล2016-04-202020-10-122016-04-202020-10-122559-04-202548https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59363การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูดดมหรือรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง กับโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ รูปแบบการศึกษาเป็น Case-Control study เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็กที่ป่วยและพักรักษาตัวที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคหอบหืด ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบคือเด็กที่มาตรวจสุขภาพประจำปี จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 924 รายแบ่งเป็น กลุ่มศึกษา 462ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 462 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ Chi-square, t-test และ Multiple Logistic regression ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่มารดารับสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ การมีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่อย่างน้อยหนึ่งคน การที่สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหาร การที่เด็กสัมผัสสูดดมควันบุหรี่มือสองที่บ้านผู้อื่น และ ระหว่างเดินทาง การศึกษาของมารดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา การศึกษาของบิดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา การที่บิดาหรือมารดามีอาชีพรับจ้างและรายได้ครบครัวต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาทต่อเดือน เมื่อวิเคราะห์โดยการควคุมตัวแปรกวนแล้วพบว่า การที่สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหารทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 4.4 เท่า (95%CI=2.8-7.0 การที่มารดารับสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.3 เท่า (95%CI=1.0-1.8) และเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคคคหืด 2.8 เท่า (95%CI=1.4-5.8) การที่ครอบครัวรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือนทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 2.1 เท่า (95%CI=1.3-3.2) การศึกษาของบิดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.7 เท่า (95%CI=1.2-2.4) และการศึกษาของมารดาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 1.2 เท่า (95%CI=1.0-1.7) สรุปว่า การที่มารดารับสัมผันหรือสูดดมคสันบุหรี่มือสองขณะตั้งครรภ์ การที่สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่อุ้มเด็ก เล่นกับเด็กอย่างใกล้ชิด และป้อนอาหาร เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่างและข้อเสนอแนะ ในการป้องกันเด็กจากการเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าวก็คือ การทำให้บ้านเป็นเขตปลอดบุหรี่และการที่สตรีมีครรภ์และเด็กเล็กหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสควันบุหรี่มือทองในสถานที่ใดก็ตามที่มีผู้สูบบุหรี่thaการได้รับควันบุหรี่ทางอ้อมโรคทางเดินอากาศหายใจทารกและเด็กรายงานผลการวิจัย เรื่อง โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบกับการรับสัมผัสควันLower respiratory illnesses and second-hand smoke (SHS) exposure in Thai Children under fiveResearch Reportมหาวิทยาลัยมหิดล