แววตา ศรีทองสุดาภรณ์ พยัคฆเรืองพรรณรัตน์ แสงเพิ่มWaewta SritongSudaporn PayakkaraungParnnarat Sangpermมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์2022-03-292022-03-292565-03-292565วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2565), 49-66https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64417วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องของมารดาที่ได้รับสื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต รูปแบบการวิจัย: การศึกษากึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อ 3 ประเภท คือ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สองชุด ถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก 2) ความคิดเห็นต่อการได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Kruskal Wallis test by ranks ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า มารดาที่ได้รับสื่อบุคคล มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องแตกต่างกัน (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ตมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว สรุปและข้อเสนอแนะ: มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น พยาบาลควรบูรณาการหลากหลายช่องทางและวิธีการในการให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การใช้สื่อหนังสือคู่มือ หรืออินเทอร์เน็ต ร่วมกับการให้คำแนะนำโดยพยาบาล ช่องทางหลากหลายจะช่วยเอื้ออำนวยให้มารดาได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้นPurpose: To compare the maternal intention to exclusive breastfeeding and continued breastfeeding among mothers receiving three different types of breastfeeding media: personal media, personal media along with specialized media, and personal media along with the internet link. Design: Quasi-experimental design. Methods: The study samples were postpartum mothers in the obstetric ward a university hospital, Bangkok. There were 75 people divided into 3 groups. Data were collected from July to October, 2018. The research instruments consisted of 3 types of media which were personal media, specific media and internet link. Tools used for data collection included two interviewing questionnaires asking about 1) mother’s and infant’s general information, and 2) their opinion towards breastfeeding information obtained and their intention to exclusive and continued breastfeeding. The data were analyzed using descriptive statistics and Kruskal Wallis test by ranks. Main findings: The study showed that intention to exclusive breastfeeding (p < .05) and intention to continued breastfeeding (p < .05) were significantly different among three groups of mothers: receiving personal media only, receiving personal media along with specific media, and receiving personal media along with the internet link. For post hoc comparison, the mothers receiving personal media along with specific media and mothers receiving personal media along with the internet link had longer duration of intention to exclusive breastfeeding and intention to continued breastfeeding than the mothers receiving the personal media only. Conclusion and recommendations: According to the study findings, the mothers receiving personal media along with either specific media or the internet link showed their intention with longer duration to exclusive breastfeeding and continued breastfeeding than the mothers receiving personal media only. Therefore, nurses should apply multimodal implementation of breastfeeding education for mothers by integrating specific media, like booklet, and internet platform in the routine advice given by nurses. Several sources of information given will facilitate mothers to obtain at hand information which would enhance their intention to breastfeed longer.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ความตั้งใจสื่อbreastfeedingintentionmediaวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่ได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อต่างกันIntention to Breastfeeding in Mothers Receiving Breastfeeding Information from Different MediasResearch Articleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล