สมภพ สูอำพันโชษิตา แก้วเกษมหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. แผนกแพทย์แผนจีน2018-04-252018-04-252561-04-232556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11007หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 260-274การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง รูปแบบ interventional study เปรียบเทียบ Pre-test และ Post-test โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไมเกรน ที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกแพทย์แผนจีน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 24 คน โดยได้รับความสมัครใจ และยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการรักษาฝังเข็มทั้งหมด 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ ตัวชี้วัดของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ความรุนแรงของอาการปวด จำนวนครั้งของอาการปวด และจำนวนครั้งของการใช้ยาแก้ปวด ซึ่งประเมินจากแบบบันทึกอาการปวดศีรษะ (Headache diary) ที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้บันทึกตลอดช่วงของการศึกษา โดยวัดผล pre-treatment คือช่วงเวลาก่อนเข้ารับการฝังเข็ม 1 เดือน เปรียบเทียบกับ post-treatment คือช่วงเวลาหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 1-4 และหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 5-8 ผลการศึกษาพบว่า การฝังเข็มสามารถช่วยลดจำนวนครั้งของอาการปวด ลดความรุนแรงของอาการปวด และลดจำนวนการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไมเกรนได้ ในช่วงหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 1-4 จนถึงสัปดาห์ที่ 5-8 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ทั้งนี้การฝังเข็มยังสามารถช่วยลดจำนวนครั้งของอาการปวดและลดจำนวนการใช้ยาได้มากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 5-8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่ 1-4 สำหรับสัดส่วนของผู้ที่ตอบสนองต่อการฝังเข็ม (คำนวณจากผู้ที่มีจำนวนครั้งของอาการปวดลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50) คิดเป็นร้อยละ 70.83 ภาพรวมของผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการฝังเข็มที่สามารถช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคไมเกรนได้thaมหาวิทยาลัยมหิดลโรคไมเกรนการฝังเข็มการศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาโรคไมเกรนThe effectivenessof acupuncture for the treatment of migraine)Proceeding Articleศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล