ศิริพร เสมสารคณะกรรมการการดูแลแบบประคับประคองมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลแบบประคับประคอง2022-06-222022-06-222565-06-222564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/71564ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 2การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) คือการดูแลช่วยเหลือ ผู้ป่วยที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และครอบครัวแบบองค์รวม ครอบคลุม ความหมายในเรื่องของการมีชีวิตอยู่และการตายที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เร่งหรือยื้อการตายออกไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันให้ การช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและอาการอื่นๆ ที่มี ผลกระทบต่อผู้ป่วย ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับระยะของโรค เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขตราบจนวาระสุดท้าย รวมถึงการ ช่วยเหลือครอบครัวตลอดระยะเวลาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และช่วงเวลา โศกเศร้าจากการที่ผู้ป่วยเสียชีวิตลง Palliative Care ไม่ใช่มิติของการดูแลแค่ช่วงสุดท้ายเท่านั้น ผู้ป่วย และครอบครัวมีปัญหาที่ต้องเผชิญทั้ง 4 มิติ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญมาให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดตั้งคณะกรรมการโดยบูรณาการ ทีมสหสาขามาร่วมพัฒนางานด้านการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่ง เปรียบเสมือน “ไม้ผลัดสุดท้าย” ของระบบสุขภาพ ที่ร่วมดูแลและส่งผู้ป่วย ระยะท้ายเข้าสู่เส้นชัยที่งดงาม (ตายดี) สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์thaมหาวิทยาลัยมหิดลการดูแลแบบประคับประคองไม้ผลัดสุดท้ายตายดีMahidol Quality FairPalliative Care ไม้ผลัดสุดท้าย… สู่เส้นชัยที่งดงามProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล