Chanika SritaraChiraporn TocharoenchaiAtchara Promdaung2024-02-072024-02-07201120112011Thesis (M.Sc. (Medical Physics))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94982Medical Physics (Mahidol University 2011)วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาการย่อยอาหารแข็งในกระเพาะอาหาร และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารส่วนแอนทรัมโดยวิธีการ Scintigraphy ในอาสาสมัครปกติชาวไทย และหาเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหารแข็งในคนปกติ มีอาสาสมัคร 20 ราย (เพศชาย 10 ราย และหญิง 10 ราย ช่วงอายุ 25-64 ปี) ลงนามยินยอมเข้าร่วมในการศึกษานี้ หลังจากอาสาสมัครรับประทานอาหารมาตรฐาน (ไข่ไก่เบอร์ 1 จานวน 1 ฟอง ตีผสมกับน้ำเปล่า 10 มิลลิลิตร น้ำมันพืช 5 มิลลิลิตร และสารรังสี 99mTc-Phytate 1 mCi แล้วทำให้สุกด้วยการอบในเตาไมโครเวฟ, ข้าวสวย 100 กรัม และน้ำเปล่า 100 มิลลิลิตร) เสร็จภายในเวลา 10 นาที เริ่มทำการถ่ายภาพกระเพาะอาหารทันทีในท่ายืน โดยถ่ายภาพกระเพาะอาหารเป็นช่วง ๆ จนถึง 4 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลเวลาที่กระเพาะส่งอาหารเข้าไปยังลำไส้เล็กจนกระทั่งกระเพาะอาหารว่าง ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยไม่เชิงเส้นเพื่อทำการ fit ข้อมูลสัดส่วนอาหารที่เหลืออยู่ในกระเพาะในแต่ละช่วงเวลาด้วย modified power exponential function ของ Siegel และใช้หาค่าพารามิเตอร์ของสมการ จากนั้นนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้ไปใช้ในการคำนวณเวลาในการย่อยอาหารและเวลาที่อาหารผ่านกระเพาะไปได้ครึ่งหนึ่งด้วยวิธีของ Couturier สาหรับการศึกษาการเคลื่อนไหวของแอนทรัม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำ Fourier transform เพื่อหาความถี่ และความแรงในการบีบตัวของแอนทรัม ผลการศึกษาเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหารและเวลาที่อาหารผ่านกระเพาะไปได้ครึ่งหนึ่งในคนปกติโดยใช้จุดตัด ณ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 2.5 และ 97.5 ค่าที่ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 5.56 - 38.37 และ 50.49-87.48 นาทีตามลำดับ สำหรับค่าความถี่เฉลี่ยในการบีบตัวของแอนทรัมของคนปกติซึ่งทำการเก็บข้อมูลในนาทีที่ 62, 92 และ 122 มีค่าเท่ากับ 3.2 ± 0.2 , 3.1 ± 0.2 และ 3.1 ± 0.2 รอบ/นาทีตามลำดับ และความแรงในการบีบตัวของแอนทรัมในนาทีที่ 62, 92 และ 122 อยู่ในช่วงระหว่าง 0.16-2.62, 0.17-3.51 และ 0.35-1.99 ตามลำดับxvi, 113 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าGastrointestinal system -- ImagingNuclear medicineScintigraphic studies to evaluate gastric functionsการศึกษาการทำงานของกระเพาะอาหารโดยใช้วิธีการทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์Master ThesisMahidol University