รัตนาภรณ์ ภิญญะโพธิ์วันเพ็ญ แก้วปานมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. ฝ่ายพัฒนาบุคลากรและงานสาธารณสุขมูลฐาน.2012-10-222020-09-112012-10-222020-09-112555-10-222541https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58657ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคคลในหน่วยงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ หากบุคคลมีความพึงพอใจในการทำงานลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 225 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS/PC+และใช้สถิติค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่า Chi-Square และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการทดสอบทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขสุขประจำหมู่บ้านส่วนมากเป็นหญิง ร้อยละ 62.2 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 33.8 สถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 66.7 มีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 26.7 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 33.8 มีรายได้เพียงพอในการดำเนินชีวิตร้อยละ 59.1 และการได้รับแต่งตั้งเป็นอสม. ส่วนมาก ร้อยละ 51.6 ได้รับคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล ความพึงพอใจในการทำงานของ อสม. อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.4 และมีความพึงพอใจในด้านปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลางทุกปัจจัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของ อสม. พบว่า ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ และอาชีพ มีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการทำงาน (p 0.05) แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการให้การดูแลช่วยเหลือในการทำงาน การสนับสนุนสิ่งของ การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการให้คำปรึกษาแนะนำในการทำงานที่ได้รับจากครอบครัว เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน ทุกด้าน ยกเว้น แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการ่วยเหลือสนับสนุนการทำงาน และให้คำปรึกษาในการทำงานของผู้นำชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของ อสม. แต่วิธีการคัดเลือก และการได้รับการติดตามนิเทศงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของ อสม. (p 0.05)Job saatisfaction in a particular unit contributed a great deal to the effectiveness oftheir work. The objective of the study was to determine job satisfaction of village health volunteers who worked at Primary Health Care centers. The sample was 225 people. Data was collected by using questionaire and analysed by computer, SPSS/PC+ program. The results of this study revealed that the majority, 62.2 % of village health volunteers are female ; 33.8 % had a primary educational level; 66.7 % were married ; 26.7 % were 40-49 year-old ; 33.8 % were agricultural workers ; 59.1 % had adequate income ; 51.6 % of them were selected for working village health volunteer and 64.4 % had job satisfaction at a moderate level. These factors ; education, marrital status, income and occupation were associated with job satisfaction. The social support of society, family, neighbours, community leaders and tambon public health officers played an important part in job satisfaction in all aspects. However, the exceptions were for support of workers, counselling of leadership, selection method and follow-up the facilitation of work which had a relationship to the satisfaction of village health volunteers (p-value < 0.05). The results of this study suggested the administration process to select the village health volunteers should be concentrated on community participation and directed to community needs. The stakcholder of the community should be encouraged to serve, to facilitate, to monitor and to support the community's work to achieve satisfaction and efficiency in his work25.1 mbapplication/pdfthaมหาวิทยาลัยมหิดลความพอใจในการทำงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสุพรรณบุรีรายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสุพรรณบุรีFactors related to job satisfaction among village health volunteers in community primary health care.Research Reportสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี