วิวัฒน์ วิสุทธิโกศลVivat Visuthikosolมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาศัลยศาสตร์2022-10-042022-10-042565-10-042555รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555), 348-3520125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79806มือ เป็นอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ เพราะมีความจำกับชีวิตประจำวัน ถ้ามือขาดหายไปแม้เพียงข้างเดียว ย่อมทำให้บุคคลนั้นพิการทีทุพพลภาพมาก ในรายที่มือถูกตัดขาดจากของมีคมหรืออุบัติเหตุใดๆ การผ่าตัดต่อมือหรือต่ออวัยวะเข้าที่เดิม (replantation) ด้วยเทคนิคทางจุลศัลยกรรม (microsurgery) จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดต่อชิ้นส่วนของ upper extremity ที่ถูตัดขาดในระดับต่างๆ กันซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) Major limb replantation หมายถึง การผ่าตัดต่อแขนและมือในระดับฝ่ามือขึ้นไป ซึ่งมีกล้ามเนื้อมาก ย่อมมีโอกาสเกิด muscle necrosis และ reperfusion syndrome (รูปที่ 1 A-D) 2) Minor limb replantation หมายถึง การผ่าตัดต่อนิ้วมือและฝ่ามือซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีกล้ามเนื้อ หรือมีอยู่เพียงเล็กน้อง (รูปที่ 2 A-D) สำหรับกรณีที่นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วอื่นๆ ถูกตัดขาดมาเป็นระยะเวลานาน ก็สามารถผ่าตัดสร้างนิ้วมือโดยการย้ายนิ้วเท้ามายังหัวแม่มือ ก็ประสพผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ (รูปที่ 3 A-D) สำหรับในรายที่มือขาดไปเป็นเวลานาน ผู้ป่วยเหล่านี้ก็มักจะรักษาโดยการใส่ตะขอมือที่เป็นโลหะแทนมือ หรือใช้มือเทียมเพื่อความสวยงาม แต่บางรายก็ได้รับการผ่าตัดรักษาโดยเทคนิคที่เรียกว่า Krukenberg operation ให้มีลักษณะคล้ายเป็นมือตะเกียบ ใช้งานได้ดีพอสมควรแต่ไม่สวยงาม (รูปที่ 4 A-C) ปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาผลิตมือเทียมให้ทันสมัยยิ่งขึ้นใช้งานได้ดีขึ้นมาก แต่ก็ไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนมือมนุษย์ได้ ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการผ่าตัดปลูกถ่ายมือ (Hand Transplantation) หรือเรียกสั้นๆว่า (Hand Transplant) ทั้งนี้เพื่อสามารถเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วยthaมหาวิทยาลัยมหิดลการผ่าตัดปลูกถ่ายมือเทคนิคทางจุลศัลยกรรมHand transplantationMicrosurgeryการผ่าตัดปลูกมือHand TransplantationArticleภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล