ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญสุรชาติ ณ หนองคายนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ไตรเทพ โดษะนันท์2024-01-132024-01-13255825672558วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92647สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)งานศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการปฏิบัติการฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ของผู้ปฏิบัติการ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีโดยตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 164 คน ทำการศึกษาปัจจัยด้านบุคคลความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ทัศนคติ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยบำรุงรักษา เครื่องมือที่ใช้ ศึกษาเป็นแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านความรู้ของผู้ปฏิบัติการ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. พบว่า ผู้ปฏิบัติการมีระดับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านทัศนคติพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 56.9 ด้านปัจจัยจูงใจพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านปัจจัยบำรุงรักษาพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.โดยรวมในทิศทางบวก (r = 0.253 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ทัศนคติโดยรวมมีความ สัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม พ.ร.บ. ในทิศทางบวก (r = 0.168) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.034) ปัจจัยจูงใจโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามพ.ร.บ.โดยรวมในทิศทางบวก (r = 0.348) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000) มีค่าความแกร่งที่ร้อยละ 23.6 (R² = 0.236) มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ได้แก่ ความรู้ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยบำรุงรักษา งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้สำนักงานพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี ควรมีการส่งเสริมให้ ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานีมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มากขึ้นรวมทั้งการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องThis was a descriptive research aimed to examine the medical emergency practices .of operators according to the Medical Emergency Act, 2551 B.E in Pathumthani province area. One hundred and sixty-four operators were selected for the study focusing on their personal factors, knowledge of the Medical Emergency Act, 2551 B.E. attitude, motivation, and maintenance factors. The research instrument used was a questionnaire. The study found that according to the Medical Emergency Act, 2551 B.E.,the operation of the emergency medical operators and their overall knowledge of the Act were at a good level. Their attitude motivation and the maintenance factor were at moderate level, (56.9 percent). The knowledge of the Medical Emergency Act, 2551 B.E., had a statistically signiticant positive correlation with the medical emergency operation Act (r = 0.253, p = 0.001). The overall attitude had a positive correlation with the medical emergency operation Act at r = 0.168, p = 0.034. statistically level of signiticance. The overall motivation factors positively correlated with the medical emergency operation Act (r = 0.348, p = 0.000) statisticallevel of significance and the robust value was 23.6 percent (R2 = 0.236). The factors influencing the emergency medical operation according to the Medical Emergency Act, 2551 B.E., were knowledge, motivation factors and maintenance. The research recommended tht the office develops Emergency Medical Profession System in Pathumthani to support the emergency medical operators in Pathumthani province again knowledge about the Medical Emergency Act, 2551 B.E. and create a positive attitude in the operators.ก-ฌ, 148 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551บริการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน -- ไทย -- ปทุมธานีการพยาบาลฉุกเฉิน -- ไทย -- ปทุมธานีการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ของผู้ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีMedical emergency practices of operators according to the Medical Emergency Act, 2551 B.E. in Pathumthani province areaMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล