จิตติพร ยุบลพริ้งศุภศิริ เชียงตาทองสุข สุขแสนJittiporn YubonpringSuphasiri ChiangtaTongsuk Suksanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-05-212021-05-212564-05-202561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62237ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 14ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอหลังผ่าตัดมักมีภาวะกลืนลำบากและสำลัก ทำให้การรับประทานอาหารผิดปกติ เสี่ยงต่อติดเชื้อในปอดจากการสำลัก ทุพโภชนาการ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ค่ารักษาพยาบาลและ LOS เพิ่มขึ้น และหน่วยงานยังไม่มีรูปแบบฟื้นฟูการกลืนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อฟื้นฟูการกลืนให้ดีขึ้น สำลักลดลง และเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลฟื้นฟูการกลืนของผู้ป่วย ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนนี้พัฒนาจากการทบทวนงานวิจัย ประกอบด้วย การประเมินความพร้อมในการกลืน การประเมินการกลืนและสำลักการฝึกกลืน การบริหารช่องปากและคอ ท่าทางของศีรษะและท่านั่งขณะรับประทานอาหาร การดูแลความสะอาดในช่องปาก และจัดสิ่งแวดล้อม โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทหน่วยงาน ความเป็นไปได้ในการพยาบาลตามกระบวนการ PDSA ผลโครงการพบว่า ผู้ป่วยกลืนได้ดีขึ้นและสำลักลดลง 95.65% ผู้ป่วยจำหน่ายตามกำหนดไม่เกิน 26 วัน 86.95% และไตรมาสที่ 4 ผู้ป่วยมีแผลติดเชื้อ แผลรั่ว ต้องใส่ NG tube ทำให้LOS เกิน 26 วัน แต่หลังฝึกกลืนผู้ป่วยกลืนได้ดีขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอภาวะกลืนลำบากบากและสำลักการฟื้นฟูการกลืนMahidol Quality Fairโครงการฟื้นฟูการกลืนในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอหลังผ่าตัดProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล