พุทธรักษา กำเหนิดรัตน์อนรรฆ จรัณยานนท์นงลักษณ์ นาคชำนาญ2024-01-152024-01-15256025672560สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรีศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92692ดนตรีศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกกีตาร์อองซอมเบิลขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกีตาร์ก่อนและหลังการสอนในรูปแบบอองซอมเบิลขั้นพื้นฐาน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนกีตาร์ในรูปแบบอองซองเบิลขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง ประชากรที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักเรียนที่เลือกเรียนกีตาร์ในรูปแบบอองซอมเบิลขั้นพื้นฐานเลือกแบบเจาะจงจำนวน 13 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบฝึกกีตาร์อองซอมเบิลขั้นพื้นฐานจำนวน 5 เล่ม (2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และ (4) แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดของผู้ปกครอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) แบบฝึกกีตาร์อองซอมเบิลขั้นพื้นฐานจำนวน 5 เล่ม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์สูงตามเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ของค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 - 1 แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกที่ใช้มีความเที่ยงตรงสอดคล้องและใช้ได้ (2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกกีตาร์อองซอมเบิลขั้นพื้นฐาน หาค่าสถิติ Paired-Samples t -test แล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามสมมติฐาน (3) ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนกีตาร์ในรูปแบบอองซอมเบิลขั้นพื้นฐานโดยมีแบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดค่าเฉลี่ย 5.00 รองลงมาค่าเฉลี่ย 4.92 และต่ำสุดค่าเฉลี่ย 4.15ตามรายข้อ และ (4) ความพึงพอใจของผู้ปกครองสรุปได้ว่าต้องการให้โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกีตาร์ในรูปแบบอองซอมเบิลขั้นพื้นฐานต่อไปในหลากหลายกลุ่มและคิดว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกันและคุณครูผู้สอนวางแผนจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและใช้ระยะเวลาที่เหมาะสมThe objectives of this research were (1) to create basic fundamental exercises of guitar ensemble for students (2) to compare the students' achievement before and after learning fundamental guitar ensemble and (3) to study the satisfaction of students and their parents with the teaching of music by applying fundamental guitar ensemble. This was a quasi-experimental research using one-group pretest posttest design in which a sample population of 120 students from Mathayomsuksa 3 in King's College School was used. Thirteen (13) students who chose to study fundamental guitar ensemble were the purposive sample. The research instruments used in the study were, 5 books of fundamental guitar ensemble exercises, an achievement evaluation through pre-test and post-test, an evaluation of student satisfaction, and an open ended interview with the parents. The results of this research were: (1) the 5 books of fundamental guitar ensemble exercises had an index of item - object congruence (IOC) which passed the set criteria from 0.50-1 indicating that the exercises in the 5 books were accurate, reliable, and usable, (2) the students' achievement showed used t-Dependent to compare the means (X) of pre-test and posttest, using both exercises and music sheets statistically significant at 0.05 level, this indicated that students' academic achievement was higher as in the hypothesis, (3) an analysis of students' satisfaction with learning fundamental guitar ensemble from 10 questions, the students responses were at the highest level with a mean (X) of 5.00, followed by 4.92 and the lowest level at 4.15 following the questions, and (4) parents' satisfaction result showed that most of them wanted the school to continue providing fundamental guitar ensemble classes, and most of them thought that the students could spend their free time wisely together as a group both inside and outside school, and the teacher had good planning and suitable timing.ก-ญ, 274 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ากีตาร์กีตาร์ -- การศึกษาและการสอนการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้และสร้างแบบฝึกหัดสำหรับวงกีตาร์อองซอมเบิลขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบมราชูปถัมป์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมBasic guitar ensemble learning activities and creating basic guitar ensemble exercises : a case study of students at King's College School, Sampran District, Nakornpathom provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล