ลดาวรรณ อุบลจินตนา ชนประชานวลจันทร์ อุดมพงศ์ลักขณาประคัลภ์ จันทร์ทองLadawan UbolJintana ChonprachaNuanchan UdomponglakkanaPrakul Chanthongมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2019-11-292019-11-292562-11-292562วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2562), 46-62https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48257วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลวิธีการสอนช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ระหว่างวิธีการสอนด้วยวีดิทัศน์และฝึกปฏิบัติกับพยาบาล และวิธีการสอนและฝึกปฏิบัติด้วยพยาบาล ต่อความรู้และการปฏิบัติในการช่วยชีวิตเด็กขั้นพื้นฐาน ของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 98 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ และแบบประเมินการปฏิบัติในการช่วยชีวิตเด็กขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู การทดสอบไคร์สแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์ ผลการวิจัย: ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่สอนด้วยวีดิทัศน์และฝึกปฏิบัติกับพยาบาลมีคะแนนรวมเฉลี่ยหลังเรียน และการปฏิบัติในภาพรวมของการช่วยชีวิตเด็กขั้นพื้นฐาน ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่สอนและฝึกปฏิบัติด้วยพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ .05 (p > .05) แต่ใช้ระยะเวลาที่พยาบาลต้องสอนน้อยกว่ากลุ่มที่สอนและฝึกปฏิบัติโดยพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -7.43, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: วิธีการสอนเพื่อให้ความรู้และทักษะการปฏิบัติในการช่วยชีวิตเด็กขั้นพื้นฐานแก่ผู้ดูแล ไม่ว่าจะใช้วิธีสอนด้วยวีดิทัศน์และฝึกปฏิบัติกับพยาบาลหรือวิธีสอนโดยพยาบาลให้ผลไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้นำวิธีการสอนด้วยวีดิทัศน์และฝึกปฏิบัติกับพยาบาลมาใช้ในทางปฏิบัติเนื่องจากวิธีนี้ใช้เวลาของพยาบาลน้อยกว่า ยิ่งกว่านั้นควรให้วีดิทัศน์แก่ผู้ดูแลนำกลับไปทบทวนที่บ้านเพื่อให้ทักษะการช่วยเหลือคงทนPurpose: The purpose of this experimental study was to compare the results of two training methods of Basic Life Support (video with nurse instruction and nurse instruction only) on knowledge and performance of caregivers of pediatric patients at risk for cardiopulmonary arrest. Design: Experimental research. Methods: The 98 participants were primary caregivers of pediatric patients at risk for cardiopulmonary arrest who were admitted at Siriraj hospital. Data were collected by a demographic information interview form, knowledge of basic life support questionnaire, and checklist form for assessing performance in pediatric basic life support. Statistical analysis included descriptive statistics, Mann – Whitney U test, Chi - square and, Fisher’s exact test. Main findings: The differences of knowledge and performance of basic life support between the group taught by using video with nurse instruction and the other one using nurse instruction spent less time to educate and teach the caregivers, compared to thos in their counterpart group (Z = -7.43, p < .05). Conclusion and recommendations: Either using video with nurse instruction or nurse instruction only as a teaching method yields similar effectiveness on caregivers’ knowledge and practice skills of basic life support. Thus, the use of video with nurse instruction should be encouraged in nursing practice as it consumes less time from nurses. Moreover, the video should be given to caregivers for review at home so that their skills would be sustainable.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กbasic life supportcardiopulmonary arrestcaregiverspediatric patientsวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอนช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นComparison of Basic Life Support Training Methods for Caregivers of Pediatric Patients at Risk for Cardiopulmonary ArrestArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล