วิลาวัณย์ เชิดเกียรติกำจายนิชรา เรืองดารกานนท์รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ทัศนวัต สมบุญธรรมพัฏ โรจน์มหามงคลรุ่งทิพย์ ประเสริฐชัยVilawan ChirdkiatgumchaiNichara RuangdaraganonRawiwan RoongpraiwanTasnawat SombunthamPat RojmahamongkolRungthip Prasertchaiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์2022-10-102022-10-102565-10-102553รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 33, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2553), 79-840125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79859ภูมิหลัง: ความเสี่ยงของการเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำในครอบครัวที่มีบุตรซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการออทิสซึมชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic autism) แล้วหนึ่งคนพบว่าอยู่ระหว่างร้อยละ 2-8 ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อการวางแผนครอบครัวของบิดามารดาที่จะมีบุตรคนถัดไปได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเข้าใจของบิดามารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำในครอบครัวที่มีบุตรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการออทิสซึมที่โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการ: ผู้วิจัยได้ขอให้บิดามารดาของผู้ป่วยออทิสซึมตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงในการเกิดภาวะอออทิสซึมซ้ำในบุตรคนถัดไป และส่งกลับมาให้ผู้วิจัยทางไปรษณีย์ภายในสองสัปดาห์หลังจากได้รับแบบสอบถาม ผลการศึกษา: บิดามารดาของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสซึมตอบแบบสอบถามกลับมารวมทั้งสิ้น จำนวน 252 ราย ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 26 ที่มีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำในบุตรคนถัดไป ในจำนวนที่เหลือยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง กล่าวคือร้อยละ 44 เข้าใจว่ามีโอกาสการเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำสูงกว่าความเป็นจริง ร้อยละ25 เข้าใจว่าจะไม่มีโอกาสเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำในลูกคนถัดไป และร้อยละ 5 ไม่แน่ใจ สรุป: ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า มีเพียงบิดามารดาส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงของการเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำในบุตรคนถัดไปได้ถูกต้อง ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญและใช้เวลาสำหรับการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะออทิสซึมซ้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับช่วยในการวางแผนการมีบุตรคนต่อไปให้แก่ครอบครัวของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสซึมได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นBackground: The recurrence risk of idiopathic autism spectrum disorders (ASDs) in the subsequent child is between 2-8% for parents who have already had one affected child. Parents' accurate perception of this recurrence risk is important since it affects their decisions regarding future reproduction. Objective: To study parental perception of the recurrence risk of ASDs in their subsequent child. Methods: Parents with a child diagnosed with an ASD without known etiology at Child Development Clinic and Child and Adolescent Psychiatric Clinic at Ramathibodi Hospital were contacted by mail during February 1 to March 31, 2008 for an invitation to participate in this study by answering a questionnaire and mailing back to the researcher within two weeks. Results: Among 252 parents who participated in the study, only 26% had accurate perception of the recurrence risk, 44% overestimated this risk, 25% perceived that there was no risk of ASDs in their subsequent child, and another 5% were unsure. Conclusion: The result of this study showed that the recurrence risk knowledge in these parents was still inadequate. This information suggests medical professionals to be more proactive in counseling the parents in order to help them make an appropriate decision on having another child.thaมหาวิทยาลัยมหิดลออทิสซึมความเสี่ยงในการเกิดซ้ำความเข้าใจของบิดามารดาAutism spectrum disordersRecurrent riskParents' perceptionความเข้าใจของบิดามารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการออทิสซึมซ้ำในบุตรคนถัดไปParents' Perception of Autism Spectrum Disorders Recurrent RiskOriginal Articleภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล