พวงเพชร แก้วหาญอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์Poungpet GeawhanArunrat SrichantaranitWanida Sanasuttipunมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์2019-11-192019-11-192562-11-192562วารสารพยาบาลศาสตร์ . ปีที่ 37, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค. 2562), 32-44https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48027วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ทัศนคติต่อความตายและการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย และอุปสรรคในการสื่อสารกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกกุมารเวชกรรมที่โรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่ง ในภาคกลางของประเทศไทย จํานวน 123 คน มีประสบการณ์ทํางานในการดูแลผู้ป่วยเด็กอย่างน้อย 1 ปีและไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยขึ้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของพยาบาลในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว แบบสอบถามทัศนคติต่อความตายและการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย และแบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัวระดับปานกลาง อายุและทัศนคติต่อความตายและการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (rs = .21, p < .01 และ rs = .35, p < .01 ตามลําดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการสื่อสารไม่มีความ สัมพันธ์กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว (r s = -.06, p > .05)สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า พยาบาลที่มีวุฒิภาวะด้วยอายุและมีทัศนคติที่ดีต่อความตายมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เหมาะสมรับผิดชอบในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว จึงควรจัดให้มีการอบรมเพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีและพัฒนาสมรรถนะในการสื่อสารแก่พยาบาล ตลอดจนพัฒนาแนวปฏิบัติในการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพกับผู้ป่วยและครอบครัวกลุ่มนี้ด้วยPurpose: To examine the relationships between age, attitude toward death and caring for dying patients, obstacles of communication and nurses’ competency in communication with pediatric patients at the end of life and their families. Design: Correlational study design.Methods: The sample was 123 nurses working in the pediatric units at 3 tertiary care hospitals in the central part of Thailand, having experiences in caring for pediatric patients at least 1 year, and not being in a position of head nurse or higher. Data were collected through questionnaires including personal information, nurses’ perception of competency in communication with pediatric patients at the end of life and their families, attitudes towards death and caring of dying patients, and nurses’ perceptions of barriers to communication. Descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient were used in the data analysis. Main findings: The subjects had a moderate level competency in communication with pediatric patients at the end of life and their families. Age and attitudes toward death and caring for dying patients were positively correlated with nurses’ competency in communication at significance level (rs = .21, p <.01 and rs = .35, p < .01, respectively). Obstacles of communication was not correlated with nurses’ competency in communication (rs = -.06, p > .05).Conclusion and recommendations: The study results suggested that a nurse with maturity by age and positive attitudes towards death tends to be an appropriate one who is responsible for communicating with a patient at the end of life stage and family. A training for cultivating good attitudes towards death and developing competency in communication should be arranged for nurses. Clinical practice guideline for communication with this group of patients and families should also be developed.thaมหาวิทยาลัยมหิดลสื่อสารการดูแลระยะสุดท้ายครอบครัวพยาบาลวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandcompetency in communicationpediatric patients at the end of lifeprofessional nurseปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัวFactors Related to Nurses’ Competency in Communication with Pediatric Patients at the End of Life and Their FamiliesArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล