ศิวดล วงค์ศักดิ์ชวรัฐ จรุงวิทยากรกุลพัชร จุลสำลีกิจชัย ลักษมีอรุโณทัยธนพงศ์ พันธ์พิกุลปพน สง่าสูงส่งนรเทพ กุลโชติธนพจน์ จันทร์นุ่มวิโรจน์ กวินวงศ์โกวิทSiwadol WongsakChavarat JarungvittayakonKulapat ChulsomleeKitchai LuksameearunothaiTanapong PanpikoonPaphon Sa-ngasoongsongNoratep KulachoteThanaphot ChannoomViroj Kawinwonggowitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาออร์โธปิดิกส์2022-09-202022-09-202565-09-202560รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560), 1-70125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79575บทนำ: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา และอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยก่อนผ่าตัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายการหลังผ่าตัดได้สูง แต่ยังไม่มีการศึกษาที่รายงานการเกิดภาวะนี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขาก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม และหาความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะนี้กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมก่อนผ่าตัดเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยการเก็บข้อมูลปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา, Caprini score, ระดับ D-dimer ในเลือด ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (D-dimer > 500 mg/dL) จะได้รับการตรวจ doppler ultrasonography ทุกราย ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขา ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120 คน พบอัตราการเกิดภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขาก่อนผ่าตัดเท่ากับ 12% (3 ราย) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (25 ราย) และพบว่า การเกิดภาวะนี้ไม่สัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานก่อนผ่าตัดของผู้ป่วย (P > 0.05) สรุป: ภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขาก่อนผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นแนะนำให้ตรวจ D-dimer ก่อนผ่าตัดทุกรายและส่งตรวจ Doppler ultrasound ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงBackground: Patients undergoing hip and knee replacement possessed high risk for deep vein thrombosis (DVT), which might not had been diagnosed preoperatively, resulting in higher postoperative morbidity. However, no previous studies have been reported the incidence of preoperative DVT in this group of patients. Objective: This study aimed to evaluate the incidence of preoperative DVT in these patients with high probability for DVT, and correlate their risk factors between those who had and had not preoperative DVT. Methods: A prospective observational study in patients undergoing hip and knee replacement, within 6-month period, was conducted. Demographic data, Caprini score, and serum D-dimer level were collected. All patients with high probability (HP) for DVT, as D-dimer level > 500 mg/dL, were send for doppler ultrasonography (D-USG). Risk factors in patients with positive D-USG were then compared to those with negative D-USG. Results: Of 120 patients, 25 patients (21%) were classified into HP group. The overall incidence of preoperative DVT in our study was 12% (n = 3). There was no significant difference in baseline characteristic data and Caprini score between patients with positive and negative D-USG (P > 0.05). Conclusion: Preoperative DVT in patients undergoing hip and knee replacement with high probability for DVT was not uncommon, as 12%. We recommended preoperative screening with D-dimer test in all patients and using D-USG as routine screening in patients with high probability for DVT.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขาก่อนการผ่าตัดการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมpreoperative deep vein thrombosiship and knee arthroplastyการศึกษาอัตราการเกิดภาวะเส้นเลือดดำอุดตันที่ขาก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมที่มีความเสี่ยงสูงIncidence of Preoperative Deep Vein Thrombosis in High Probability Patients undergoing Elective Hip and Knee Replacement SurgeryOriginal Articleภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล