Yongyuth BurasithRuengdet PankhuenkhatJitijayang YamabhaiNoppadol Kasetwethin2025-04-012025-04-01200220252002Thesis (M.A. (Rural Development Studies))--Mahidol University, 20029740418635https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/107336Rural Development Studies (Mahidol University 2002)This investigation aimed to study the history and background of the Hakban Group, its operational aspects and roles in local developments, operational results, problems, difficulties and potential in managing the group. Data collection was from related literature and fieldwork. The methods employed were participatory observations, formal and informal interviews as well as group discussions. It was revealed from the research findings that the development of the group originated from an aquatic life conservation group of Ban Don Kaew, Tambon Pa Kha, Tawangpha District, Nan Province and linked with other groups in the area in a form of network with the group as a coordinating center. The ultimate goals of the network were to develop human capital and society, empower communities, and conserve and restore natural resources as well as local arts and culture. The emphasis was put on activities that reinforced community potential, enabling them to be self- dependent and expand a learning network with other communities. A horizontal working structure, diverse and strong leadership, and working atmosphere based on love and friendliness had mobilized the group to be able to empower its member organizations and ultimately create a body of knowledge to deal with their current problems appropriately. With respect to operational problems and difficulties, it was discovered that they were: (1) lack of budget and equipment to run the group efficiently, (2) cooperation with state agencies was of personal rather than organizational relationship, and (3) impacts from government mega-projects.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประวัติความเป็นมาของชมรมฮักบ้าน ลักษณะการทำงานและบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นด้านต่างๆ ของชมรมฮักบ้าน ผลการดำเนินงานของชมรมฮักบ้าน ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของชมรม การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม โดยการแนะนำตัวและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการสัมภาษณ์กลุ่มและการจดบันทึกภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการการเกิดของชมรมฮักบ้าน เริ่มมาจากการเกิดกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ บ้านดอนแก้ว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน แล้วมีการเชื่อมต่อไปยังกลุ่มต่างๆ ในเขตอำเภอท่า วังผา มีการทำงานเป็นเครือข่าย โดยมีชมรมฮักบ้าน เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ระหว่างกลุ่มเครือข่ายต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่การพัฒนาคน พัฒนาสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเน้นกิจกรรมในการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถพึ่งตนเองได้ และเชื่อมโยงขยายเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันให้กับท้องถิ่น จากโครงสร้างการ ทำงานที่มีความสัมพันธ์ในแนวราบ การมีผู้นำที่หลากหลาย เข้มแข็ง และมีบรรยากาศในการทำงาน บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร ภายใต้ลักษณะการดำเนินงานดังกล่าว ได้เป็นพลังผลักดันให้ชมรมฮักบ้านสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรสมาชิก และท้ายที่สุดคือ ความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้และจัดการกับปัญหาที่ตนเองเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม ในส่วนของปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า 1) มีปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และ วัสดุในการดำเนินงาน 2) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เป็นไปในลักษณะความสัมพันธ์ส่วนบุคคล มากกว่าสัมพันธ์ระหว่างองค์กร 3) ปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐx, 96 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าCommunity developmentCommunity participationCivil societyCommunity-based developmentCivil society and development : a case study on Hakban Group, Thawangpha District, Nan Provinceประชาสังคมกับการพัฒนา : ศึกษากรณีชมรมฮักบ้าน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านMaster ThesisMahidol University