กมลรัตน์ สงนอกนันทนา ธนาโนวรรณปิยะนันท์ ลิมเรืองรองภัทรวลัย ตลึงจิตรKamonrat SongnokNanthana ThananowanPiyanun LimruangrongPattarawalai Talungchit2024-10-042024-10-042567-10-042567https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101443วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอายุ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลในระยะคลอด และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสต่อความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาจากผลไปหาเหตุแบบกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดจำนวน 195 ราย ที่ผ่านการคลอดปกติและคลอดด้วยวิธีสูติศาสตร์หัตถการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จากโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษาจำนวน 65 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอด และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 130 ราย เป็นกลุ่มที่ไม่มีความดันโลหิตสูงในระยะที่ 1 ของการคลอด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางสูติกรรม แบบสอบถามความวิตกกังวลในระยะคลอด และแบบคัดกรองความรุนแรง ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการวิจัย: อายุ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลในระยะคลอด และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรส สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอดได้ร้อยละ 36 (R2 = .36) และมีความแม่นยำในการทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 76.9 (overall percentage = 76.9) ปัจจัยที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความวิตกกังวลในระยะคลอด (OR = 6.83, 95%CI = 3.10, 15.05) ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่ ภาวะอ้วน (OR = 5.73, 95%CI = 2.27, 14.46) และน้ำหนักเกินเกณฑ์ (OR = 3.29, 95%CI = 1.39, 7.80) และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรส (OR = 2.92, 95%CI = 1.27, 6.70) ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: ความวิตกกังวลในระยะคลอด ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสมีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอด ดังนั้น พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้คลอดเพื่อป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอดPurpose: To determine the predictive powers of age, pre-pregnancy BMI, anxiety during labor, and intimate partner violence on gestational hypertension and preeclampsia of parturients during the first stage of labor. Design: Case-control study. Methods: The sample consisted of 195 postpartum mothers who had normal and operative delivery for at least 24 hours from a tertiary hospital in Bangkok. Total participants were divided into 2 groups: the 65 cases were diagnosed with gestational hypertension and preeclampsia during the first stage of labor and the 130 controls had normal blood pressure during the first stage of labor. Data were collected by using the Personal Data Questionnaire, the Obstetric Records, the Anxiety during Labor Questionnaires, and the Abuse Assessment Screen, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square tests, and multiple logistic regression analysis. Main findings: The results indicated that age, pre-pregnancy BMI, anxiety during labor and intimate partner violence could significantly explain 36% (R2 = .36) of the variance in gestational hypertension and preeclampsia among partutients during the first stage of labor and had a prediction accuracy of 76.9% (overall percentage = 76.9). The predictive factors included anxiety during labor (OR = 6.83, 95%CI = 3.10, 15.05), pre-pregnancy BMI which included obesity (OR = 5.73, 95%CI = 2.27, 14.46) and overweight (OR = 3.29, 95%CI = 1.39, 7.80), and intimate partner violence (OR = 2.92, 95%CI = 1.27, 6.70), respectively. Conclusion and recommendations: Anxiety during labor, pre-pregnancy BMI, and intimate partner violence affected GHT and PE in the first stage of labor. Therefore, midwives should screen those risk factors and develop a care model for parturients to prevent GHT and PE during the first stage of labor.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความวิตกกังวลดัชนีมวลกายระยะที่ 1 ของการคลอดความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสภาวะครรภ์เป็นพิษanxietybody mass indexfirst stage laborintimate partner violencepreeclampsiaวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอดFactors Influencing Gestational Hypertension and Preeclampsia of Parturients During the First Stage of LaborArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล