พวงเพชร ใจอินPuangpet Jaiinดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศDoungrut Wattanakitkrilertวิชชุดา เจริญกิจการVishuda Charoenkitkarnเจริญ ชูโชติถาวรJarern Chuchottawornมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์จังหวัดนนทบุรี. สถาบันโรคทรวงอก2019-06-172019-06-172562-06-172560วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 4 (ต.ค. - ธ.ค 2560), 61-73https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44117not available full textวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความมั่นใจในการใช้ยา ความพร้อมในการใช้ยา และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ ต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดของผู้ป่วยโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงอำนาจทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 120 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดอย่างน้อย 3 เดือน ที่คลินิกผู้ป่วยนอก สถาบันโรคทรวงอก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยฉบับย่อ แบบวัดความมั่นใจในการใช้ยา แบบประเมินความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และแบบประเมินการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: การรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความมั่นใจในการใช้ยา ความพร้อมในการใช้ยา และการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด ในผู้ป่วยโรคหืดได้ร้อยละ 47.3 (Nagelkerke R2 = .473, p < .05, df 1) ความพร้อมในการใช้ยาเป็นตัวแปรตัวเดียวที่สามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยโรคหืด (OR = 65.39, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสำคัญกับการประเมินความพร้อมก่อนการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยโรคหืด และพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดเพิ่มขึ้นไปPurpose: This study aimed to determine the predictive power of perception about disease control, confidence in ability to take medication, readiness to take medication, and patient-clinician communication on corticosteroid inhaled adherence in patients with asthma. Design: Predictive research design. Methods: The sample consisted of 120 patients with asthma who came for follow-up visits at Chest-clinics of one tertiary hospital. Data were collected using questionnaires including: Demographic Questionnaire, Medication Adherence Report Scale, Brief Illness Perception Questionnaire, Confidence Ruler, Readiness to Change Questionnaire, and Physician-patient communication behaviors scale. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. Main findings: Perception about disease control, confidence in ability to take medication, readiness to take medication, and patient-clinician communication were accounted for 47.3% of variance in predicting adherence to inhaled corticosteroid in patients with Asthma (Nagelkerke R2 = .473, p < .05). Readiness to take medication was the only variable that could predict corticosteroid inhaled adherence in patients with asthma with statistical significance (OR = 65.39, 95% CI = 3.76-18.20; p < .05). Conclusion and recommendations: Based on the study’s results, it was suggested that nurses should pay attention to assess readiness to use inhaled corticosteroid and to develop nursing practice model for increasing readiness to use inhaled corticosteroid.thaมหาวิทยาลัยมหิดลความร่วมมือในการใช้ยาการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความมั่นใจในการใช้ยาความพร้อมในการใช้ยาการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและแพทย์medication adherenceperception about disease controlconfidence in ability to take medicationreadiness to take medicationpatient-clinician communicationJournal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยโรคหืดFactors Predicting Corticosteroid Inhaled Adherence in Patients with AsthmaArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล