นรา เทียมคลีปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ชูรุณี พิชญกุลมงคลNara ThiamkliPiyarat NimpitakpongChurunee Pitchayakulmongkolมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบมหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะเภสัชศาสตร์. หน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือตอนล่างมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่2022-07-182022-07-182565-07-182555วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2555), 32-432697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72176การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบตัดขวาง (Crossectional Design) เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการขายบุหรี่ออนไลน์ (Internet Cigarette Sale) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งการเก็บข้อมูลเฝ้าระวังโดยอาสาสมัคร ทำหน้าที่ รวบรวมเว็บไซต์, Social Media (Facebook, Twitter), Blog, Webboard, และ Youtube โดยใช้ คำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหา จากนั้นนักวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบฟอร์มสำหรับที่ ได้รับการออกแบบและผ่านการตรวจโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ผลการศึกษาพบว่าเว็บไซต์ที่มีการขายบุหรี่ มีทั้งสิ้นจำนวน 497 เว็บไซต์ เมื่อแบ่งประเภทเว็บไซต์ จากการสำรวจเป็น 4 ประเภท คือ 1) เว็บไซต์ E-commerce (N=344) ซึ่งมี 2 แบบย่อยคือ เว็บไซต์สำเร็จรูป (N=284) และ เว็บไซต์ไม่สำเร็จรูป (N=60) 2) เว็บท่า/Web Portal (N=19) 3) Social Network (N=11) และ 4) เว็บไซต์อื่นๆ (N=123) ประเภทของบุหรี่ เมื่อพิจารณาตามสัดส่วนที่พบ มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ทั่วไป (บุหรี่หรือยาสูบ ที่ถูกกฎหมายและมีจำหน่ายทั่วไปตามร้านค้า เช่น มาร์ลโบโร แอลแอนด์เอ็ม ชูส เป็นต้น) รองลงมา เป็นบุหรี่ชูรส บุหรี่มวนเอง บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ไร้ควัน โดยที่ยี่ห้อหรือแบรนด์ของบุหรี่มีความหลากหลาย ทั้งบุหรี่ในประเทศและบุหรี่ต่างประเทศ กิจกรรม นอกเหนือจากการขายบุหรี่ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม ที่เป็นการให้ข้อมูลสินค้าแก่ผู้บริโภค (Information Giving) และกิจกรรมที่เป็นกระดานสนทนาถาม-ตอบ หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้สินค้า (Web Board) ส่วนลักษณะการส่งเสริมการขาย (Promo­tional Characteristics) ของสินค้าบุหรี่ พบว่า ส่วนใหญ่มีการโชว์รูปบุหรี่ รองลงมาเป็นการลดราคา และการบริการจัดส่งสินค้าฟรี รวมถึงการแถมสินค้าอื่น และการสาธิตการใช้สินค้า การสำรวจคำเตือนสำหรับ เยาวชนพบว่า เว็บไซต์เกือบทั้งหมดไม่มีคำเตือนสำหรับ เยาวชน การสำรวจการขายสินค้าบุหรี่ร่วมกับสินค้า ประเภทอื่นพบว่า มีการขายสินค้าบุหรี่ร่วมกับสินค้า ประเภทอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 22.3 ดังนั้น ควรมี มาตรการหรือกฎหมายในการเฝ้าระวัง ควบคุมและ จัดการการขาย การโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าประเภท บุหรี่ผ่านทางเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตThis is a cross-sectional study aimed to explore the extent of internet cigarette sales in Thailand. Two researchers monitored, retrieved, and stored websites social media (Facebook, Twitter), Blog, Webboard, and Youtube information related to internet cigarette sale using specific keywords. The content was later analyzed using a check-list report form which was created by the researchers and validated by two experts in this field. There were a total of 497 websites found related to internet cigarette sale in Thailand. These websites comprised of e-commerce websites (N=344), web portal (N=19), social network websites (N=11) and others (N=123). Types of tobacco sold online were legally manufactured cigarettes (found in typical retail stores), flavored cigarettes, self rolled cigarettes, e-cigarettes, and smokeless tobacco. Activities on these websites, apart from selling cigarettes, involved raising public awareness of the products and smoking behavior, and building a smoker community such as blog or webboard. Promo­tional tactics included cigarette package displays, offering discounts and free samples, offering free delivery, smokers’ testimonial and production use demonstration as well as giving out free gifts with purchases. Most of these online outlets did not display a warning message for underage persons before entering the websites. Twenty two percent of these online outlets also sold other products. The authority should implement stronger regulations on internet cigarette sales.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการขายบุหรี่ออนไลน์internet cigarette salesการสำรวจการขายบุหรี่ออนไลน์ในประเทศไทยSurvey of the Extent of Internet Cigarette Sales in ThailandArticleศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือตอนล่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่