ธราดล เก่งการพานิชสารภี ลีประเสริฐมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยอนามัยชนบท.2016-02-242021-09-152016-02-242021-09-152559-02-162534https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63554เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 266.การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้น้ำจากโอ่งยักษ์ ที่เป็นสาเหตุการปนเปื้อนของน้ำในโอ่งยักษ์ โดยดำเนินการสึกษาด้วยการสัมภาษณ์ และสังเกตใน 430 หลังคาเรือนตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน จาก 8,754 หลังคาเรือน ในเขตท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2531 ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนของพื้นที่มีโอ่งยักษ์ไว้เก็บกักน้ำดื่มเฉลี่ย 2.4 ใบต่อหลังคาเรือน ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี ตาการศึกษาในรายละเอียดพบว่าร้อยละ 20.1ของหลังคาเรือนทั้งหมดมีโอ่งยักษ์เพียงใบเดียว และร้อยละ 2.6 ถึง 5.6 หรือประมาณ 223 ถึง 492 หลังคาเรือน มีน้ำดื่มไม่เพียงพอตลอดปี ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมีภาชนะเก็บน้ำไม่เพียงพอ สำหรับสาเหตุของการปนเปื้อนน้ำในโอ่งยักษ์ เกิดจากชาวบ้านมีพฤติกรรมการใช้น้ำจากโอ่งยักษ์ซึ่งขาดการตระหนักในเรื่องของความสะอาด และไม่มีฝาหรือวัสดุปิดปากโอ่งที่มิดชิดที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง รวมถึงสิ่งปนเปื้อนต่างๆได้ ข้อเสนอเพื่อลดการปนเปื้อนของน้ำในโอ่งยักษ์นั้น เนื่องจากพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 85.3 ของหลังคาเรือนตัวอย่าง ไม่นิยมปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่ม จึงควรใช้แนวทางดังนี้คือ รณรงค์ให้ชาวบ้านตระหนักในเรื่งอความสะอาดโดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใช้น้ำจากโอ่งยักษ์ ในขณะเดียวกันต้องเร่งแก้ปัญหาในกลุ่มชาวบ้านที่มีภาชนะเก็บน้ำดื่มไม่เพียงพอตลอดปี เพื่อลดความเสี่ยงของชาวบ้านที่ต้องใช้น้ำบ่อ น้ำสระ มาดื่มแทนยามขาดแคลนthaมหาวิทยาลัยมหิดลกรณีศึกษาพฤติกรรมน้ำโอ่งยักษ์พฤติกรรมการใช้น้ำจากโอ่งยักษ์ : กรณีศึกษา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาProceeding Abstract