สุวรรณี จรูงจิตรอารีนวลอนงค์ ชัยปิยพรอโนมา สันติวรกุลสลิลา เศรษฐไกรกุลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2013-05-082018-03-232013-05-082018-03-232556-04-042553-08ศรีนครินทร์เวชสาร. ปีที่ 25, ฉบับที่ 4 (2553), 287-2910857-3123https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10351หลักการและวัตถุประสงค์ : บุหรี่ส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ มีการศึกษาผลของบุหรี่ต่อสมรรถภาพปอด พบว่าทำให้ค่า FEV1/FVC และ FEF25-75% ลดลง และระดับกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอด ระดับกิจกรรมทางกายที่สูงสามารถชะลอการลดลงของสมรรถภาพปอดในคนที่สูบและไม่สูบบุหรี่ แต่ผลของบุหรี่ต่อสมรรถภาพปอดและระดับกิจกรรมทางกายในวัยรุ่นมีการศึกษาน้อย ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาผลของบุหรี่ต่อระดับกิจกรรมทางกายประจำวันและสมรรถภาพปอดของนักศึกษาอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา: การศึกษาเป็นแบบ cross-sectional ในนักศึกษาอาชีวศึกษาเพศชาย ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 5 แห่ง อายุ 17-23 ปี แบ่งเป็นกลุ่มสูบ (n=220) และไม่สูบบุหรี่ (n=202) ทั้งสองกลุ่มตอบแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน กิจกรรมที่ทำประจำและวัดสมรรถภาพปอด ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย FVC, FEV1, FEV1 /FVC และ FEF25-75% ระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.764, p=0.852, p=0.895, p=0.821) ค่าเฉลี่ยคะแนนระดับกิจกรรมทางกายขณะทำงาน, ขณะออกกำลังกาย, เวลาว่าง และคะแนนรวมระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.539, p=0.143, p=0.079, p=0.12) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพปอดกับระดับกิจกรรมทางกายในนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม สรุป : จากการศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นไม่พบความแตกต่างของสมรรถภาพปอดและระดับกิจกรรมทางกายระหว่างนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มและไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพปอดในนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มthaมหาวิทยาลัยมหิดลSmokingPhysical activity levelPulmonary functionผลของบุหรี่ต่อระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพปอดของนักศึกษาอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครEffect of smoking on physical activity level and pulmonary function of vocational students in BangkokOriginal Articleคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น